บทความสั้น: โอกาสและความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อของโรคโคโรนาไวรัส 2019 ในทางทันตกรรม

บทความ

บทความสั้น: โอกาสและความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อของโรคโคโรนาไวรัส 2019 ในทางทันตกรรม
 

          โรคไวรัสโคโรนา 2019 (corona virus disease 2019) หรือโรคโควิด-19 (COVID-19) จัดเป็นโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (Severe acute respiratory syndrome coronavirus 2: SARS-CoV-2) (1) ที่สามารถถ่ายทอดรหัสพันธุกรรมส่งต่อไปยังสิ่งมีชีวิตอื่นๆ รวมทั้งในระบบทางเดินหายใจของมนุษย์ (2) อัตราการวิวัฒนาการของไวรัสโควิด-19 พบว่ามีรหัสพันธุกรรมคล้ายกับค้างคาวถึงร้อยละ 96.2 และรหัสพันธุกรรมมีการทดแทนนิวคลีโอไทด์ประมาณ 104  นิวคลีโอไทด์ต่อปี (3) แสดงให้เห็นว่าไวรัสชนิดนี้สามารถกลายพันธุ์ในระหว่างการถ่ายทอดพันธุกรรมและการเพิ่มจำนวน คุณลักษณะของไวรัสโควิด-19 เป็นอาร์เอ็นเอ (Ribonucleic acid – RNA) แบบสายเดี่ยว  โครงสร้างสองในสามของไวรัสส่วนใหญ่อยู่ในโครงสร้างโปรตีนที่ห่อหุ้มตัวไวรัสได้แก่ สไปค์ (spike) ไกลโคโปรตีน (glycoprotein) โปรตีนนิวคลีโอแคปซิด (nucleocapsid) และโปรตีนอื่นๆ ห่อหุ้มตัวของไวรัส (4)  กลไกที่น่าจะเป็นไปได้สำหรับการถ่ายทอดพันธุกรรมไวรัสโควิด-19 คือ การยึดติดของไวรัสกับเซลล์เจ้าบ้าน (host cell) นอกจากการใช้ระยางค์ของไวรัสในการเกาะติดแล้ว  ตัวไวรัสอาศัยโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มจำนวนเซลล์ ในระยะเอส 1 และเอส 2  ซึ่งโปรตีนดังกล่าวทำหน้าที่กระตุ้นโปรตีนและเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการย่อยสลายเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์เจ้าบ้าน ส่งผลให้เกิดการรวมตัวกันระหว่างเยื่อหุ้มเซลล์ของไวรัสและเซลล์เจ้าบ้าน (5, 6)

            ตามที่ได้มีการระบาดจากไวรัสโควิด-19 ที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน เมื่อปลายปี พ.ศ.2562 ที่ผ่านมา และระบาดเป็นวงกว้างไปทั่วโลก ช่องทางการแพร่กระจายของเชื้อ (Mode of transmission) ได้แก่ การสัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง, การติดเชื้อจากละอองฝอย (aerosol)

           การศึกษาของ Chan JF และคณะพบว่าการได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 เกิดจากการติดต่อใกล้ชิดกับแหล่งติดเชื้อในตลาด แม้ว่าผู้ป่วยบางรายไม่เคยไปตลาดอู่ฮั่นและพบการติดเชื้อโควิด-19 (7) ทำให้เกิดการศึกษาและมีรายงานว่าการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถติดต่อผ่านระบบทางเดินหายใจ และสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำลาย จากการสืบสวนโรค พบว่า การติดต่อส่วนใหญ่ (ร้อยละ 78-85) เกิดจากการติดต่อกันในผู้ใกล้ชิดหรือคนในครอบครัว การใช้ของร่วมกัน หรือการหายใจร่วมกัน (8, 9)   

          นอกจากนี้การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19 เกิดจากละอองฝอย จากการศึกษาของ van Doremalen พบว่าการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ได้มีการไอ หรือมีเสมหะ ซึ่งทำให้มีการติดเชื้อกับคนจำนวนมากขึ้น ดังนั้นสาเหตุการติดเชื้อที่เกิดจากละอองฝอย มีความสามารถทนต่อการติดกับพื้นผิวได้นาน (10)  การชุมนุมกันในที่แออัดไม่มีการระบายอากาศที่เหมาะสม  เป็นเหตุที่สำคัญในแพร่กระจายเชื้อและการติดต่อของโรค (8, 9)  ดังนั้นช่วงเวลาฟักตัวของเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้นใช้เวลาเฉลี่ย 5.1 วัน และผู้ที่ติดเชื้อร้อยละ 97 โดยประมาณ จะแสดงอาการภายในเวลา 14 วัน แต่สิ่งที่สำคัญพบว่าผู้ป่วยสามารถแพร่กระจายเชื้อได้ก่อนมีอาการ 2-3 วัน (เฉลี่ยก่อนอาการ 0.7 วัน) ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19              ร้อยละ 80 จะป่วยไม่มากและไม่ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล แต่อีกร้อยละ 15 จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลและต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อเพิ่มออกซิเจน และอีกร้อยละ 5 ที่จะมีอาการหนักมาก ต้องเข้ารับการรักษาในห้องไอซียู (Intensive Care Unit - ICU) (11, 12)

           ตามหลักสรีรวิทยาของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ถูกส่งโดยละอองฝอยนั้น ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 พบเชื้อได้ในสารคัดหลั่งจากปอด นาโซฟาริงค์ (nasopharynx)  ออโรฟาริงค์  (oropharynx) และช่องจมูก รวมถึงน้ำลายในช่องปาก โดยเฉพาะในหัตถการที่มีการฟุ้งกระจายมีโอกาสที่จะทำให้มีการแพร่กระจายเชื้อจากช่องปากหรือน้ำลายไปในอากาศบริเวณรอบ ๆ ที่ให้การรักษาได้ (13, 14)  อย่างไรก็ตามยังไม่มีงานวิจัยหรือหลักฐานที่บ่งชี้ว่าเครื่องกรอที่ใช้ในงานทันตกรรมสามารถทำให้เกิดละอองฝอย และล่องลอยอยู่ในอากาศนาน 3-4 ชั่วโมง จะนำไปสู่การแพร่กระจายของเชื้อ (15) ดังนั้นการติดต่อของโรคไวรัสโคโรนา 2019 จึงเป็นข้อกังวลที่สำคัญที่สุดในคลินิกทันตกรรมและโรงพยาบาล เนื่องจากเป็นการยากที่จะหลีกเลี่ยงการสร้างละอองฝอยจำนวนมากผสมกับน้ำลายของผู้ป่วยและแม้กระทั่งเลือดระหว่างการฝึกปฏิบัติทางทันตกรรม (16)

          อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ของการส่งและรับเชื้อไวรัสโควิด-19 ระหว่างทันตแพทย์และผู้ป่วยในคลินิกทันตกรรม เนื่องจากคลินิกทันตกรรมมีสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสอย่างกว้างขวาง เพราะมีการสัมผัสอย่างใกล้ชิดระหว่างทันตแพทย์และผู้ป่วยในการรักษาทางทันตกรรม

          นอกจากนี้สำหรับพื้นผิวและพื้นที่บริเวณต่างๆ ของคลินิกทันตกรรมอาจปนเปื้อนด้วยเชื้อไวรัส          โควิด-19  ซึ่งอาจจะเกิดจากละอองฝอย ระหว่างบุคลากรหรือคนไข้ที่มารับบริการที่ไม่ได้ใส่หน้ากากอนามัย (mask) หรืออาจจะเกิดจากละอองต่างๆ ที่เกิดจากการทำหัตถการได้ จากการศึกษาก่อนหน้านี้รายงานว่า    เชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถยึดติดได้ตั้งแต่ 2 ชั่วโมงจนถึง 9 วันในพื้นผิวต่างๆ เมื่อเปรียบเทียบความชื้นสัมพันธ์ร้อยละ 50 กับ 30  ตามลำดับ (17) ดังนั้นควรมีการทำความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆและพื้นผิวในคลินิกทันตกรรมให้คงอยู่สภาพที่แห้ง รวมถึงให้มีการระบายอากาศในคลินิกทันตกรรมเพื่อเป็นการลดการคงอยู่ของเชื้อไวรัส   โควิด-19 ในพื้นผิวต่างๆ  อย่างไรก็ตามยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนว่าการรักษาทางทันตกรรมมีส่วนทำให้        เชื้อไวรัสโควิด-19 แพร่กระจาย เป็นเพียงการแพร่เชื้อที่เป็นไปได้ ดังนั้นทันตบุคลากรควรจะตระหนักถึงการส่งต่อเชื้อโรค พยาธิวิทยาการเกิดโรคและการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 (18)

          ดังนั้นการป้องกันการติดเชื้อหรือการแพร่กระจายเชื้อ มีคำแนะนำให้อยู่ห่างกันอย่างน้อย 3 ฟุต หรือ    1 เมตร (Social distancing) ตามระยะทางของการพ่นกระจายของละอองฝอยจากผู้ป่วย ขจัดโอกาสสัมผัสละอองเสมหะหรือสารคัดหลั่งจากมือ และนำสัมผัสสู่ปาก จมูกและตา ด้วยการล้างมือบ่อย ๆ และใส่หน้ากากอนามัยเพื่อปิดปากและจมูก นอกจากนี้ให้หลีกเลี่ยงการพบปะ คลุกคลีกับผู้ที่มาจากแหล่งที่มีการระบาดหรือแพร่กระจายเชื้อไวรัสโควิด-19  การใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลของทันตแพทย์ ผู้ช่วยทันตแพทย์และ        ทันตบุคลากร ตลอดจนการทำความสะอาดฆ่าเชื้อบนพื้นผิวต่างๆ จะช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อจากการฟุ้งกระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้


เอกสารอ้างอิง

เอกสารอ้างอิง

1.         Lu R, Zhao X, Li J, Niu P, Yang B, Wu H, et al. Genomic characterisation and epidemiology of 2019 novel coronavirus: implications for virus origins and receptor binding. Lancet. 2020;395(10224):565-74.

2.         Zhou P, Yang XL, Wang XG, Hu B, Zhang L, Zhang W, et al. A pneumonia outbreak associated with a new coronavirus of probable bat origin. Nature. 2020;579(7798):270-3.

3.         Rothan HA, Byrareddy SN. The epidemiology and pathogenesis of coronavirus disease (COVID-19) outbreak. J Autoimmun. 2020;109:102433.

4.         Hasoksuz M, Kilic S, Sarac F. Coronaviruses and SARS-COV-2. Turk J Med Sci. 2020;50(Si-1):549-56.

5.         Hoffmann M, Kleine-Weber H, Schroeder S, Kruger N, Herrler T, Erichsen S, et al. SARS-CoV-2 Cell Entry Depends on ACE2 and TMPRSS2 and Is Blocked by a Clinically Proven Protease Inhibitor. Cell. 2020;181(2):271-80.e8.

6.         Walls AC, Park YJ, Tortorici MA, Wall A, McGuire AT, Veesler D. Structure, Function, and Antigenicity of the SARS-CoV-2 Spike Glycoprotein. Cell. 2020;181(2):281-92.e6.

7.         Chan JF, Yuan S, Kok KH, To KK, Chu H, Yang J, et al. A familial cluster of pneumonia associated with the 2019 novel coronavirus indicating person-to-person transmission: a study of a family cluster. Lancet. 2020;395(10223):514-23.

8.         Lu CW, Liu XF, Jia ZF. 2019-nCoV transmission through the ocular surface must not be ignored. Lancet. 2020;395(10224):e39.

9.         Carlos WG, Dela Cruz CS, Cao B, Pasnick S, Jamil S. Novel Wuhan (2019-nCoV) Coronavirus. Am J Respir Crit Care Med. 2020;201(4):P7-p8.

10.       van Doremalen N, Bushmaker T, Morris DH, Holbrook MG, Gamble A, Williamson BN, et al. Aerosol and Surface Stability of SARS-CoV-2 as Compared with SARS-CoV-1. N Engl J Med. 2020;382(16):1564-7.

11.       Rothe C, Schunk M, Sothmann P, Bretzel G, Froeschl G, Wallrauch C, et al. Transmission of 2019-nCoV Infection from an Asymptomatic Contact in Germany. N Engl J Med. 2020;382(10):970-1.

12.       Li Q, Guan X, Wu P, Wang X, Zhou L, Tong Y, et al. Early Transmission Dynamics in Wuhan, China, of Novel Coronavirus-Infected Pneumonia. N Engl J Med. 2020;382(13):1199-207.

13.       Sohrabi C, Alsafi Z, O'Neill N, Khan M, Kerwan A, Al-Jabir A, et al. World Health Organization declares global emergency: A review of the 2019 novel coronavirus (COVID-19). Int J Surg. 2020;76:71-6.

14.       To KK, Tsang OT, Chik-Yan Yip C, Chan KH, Wu TC, Chan JMC, et al. Consistent detection of 2019 novel coronavirus in saliva. Clin Infect Dis. 2020.

15.       Iyer P, Aziz K, Ojcius DM. Impact of COVID-19 on dental education in the United States. J Dent Educ. 2020.

16.       Peng X, Xu X, Li Y, Cheng L, Zhou X, Ren B. Transmission routes of 2019-nCoV and controls in dental practice. Int J Oral Sci. 2020;12(1):9.

17.       Khurshid Z, Asiri FYI, Al Wadaani H. Human Saliva: Non-Invasive Fluid for Detecting Novel Coronavirus (2019-nCoV). Int J Environ Res Public Health. 2020;17(7).

18.       Kamate SK, Sharma S, Thakar S, Srivastava D, Sengupta K, Hadi AJ, et al. Assessing Knowledge, Attitudes and Practices of dental practitioners regarding the COVID-19 pandemic: A multinational study. Dent Med Probl. 2020;57(1):11-7.


ผู้เขียน/ผู้จัดทำ

ทพ.ณัฐพล โรจน์เพ็ญเพียร และคุณอิศราวรรณ เกิดไกรชัยวัฒน์

แบบทดสอบ