Diagnosis and treatment of Peri-implant diseases

บทความ

Diagnosis and treatment of Peri-implant diseases

เพื่อความสำเร็จ (Success) ของการให้การรักษาทางทันตกรรม มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการประเมิน การรักษา (treatment evaluation) อยู่ตลอดเวลา เพื่อความคงอยู่ การใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ และการป้องกันการเกิดโรคซ้ำ การตรวจพบรอยโรคในระยะเริ่มแรก (early detection of disease) เพื่อการแก้ไขอย่างทันท่วงทีเป็นสิ่งที่ทันตแพทย์พึงตระหนักและปฎิบัติอย่างสม่ำเสมอในการบรรลุเป้าหมายของความยั่งยืนของการรักษา การติดตามประเมินผลการรักษาภายหลังการให้การรักษา (post-treatment evaluation) มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการประเมินก่อนและระหว่างการรักษาการได้มาซึ่งข้อมูลที่จำเป็นต่อการรักษาจากการตรวจและซักประวัติผู้ป่วย การทำความเข้าใจและการให้ข้อมูลที่จำเป็นแก่ผู้ป่วย นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อผลสำเร็จของการรักษา การรักษาทางทันตกรรมจัดเป็นการให้บริการที่ผู้รับบริการมีความคาดหวังกับผลการรักษา ทั้งนี้การรักษาทางทันตกรรมรากเทียมจัดเป็นงานทันตกรรมที่ผู้มารับการรักษามีความคาดหวังสูงเนื่องด้วยหลายๆปัจจัย ดังนั้นแม้จะได้รับการรักษาเสร็จสิ้นแล้วทันตแพทย์ยังคงต้องรับผิดชอบต่องานไปอีกเป็นเวลานาน ในบทความนี้จะกล่าวถึงโรคที่เกิดขึ้นกับรากเทียมที่ฝังในกระดูกขากรรไกรแล้ว เหตุปัจจัยที่จะมีผลต่อการเกิดโรคของรากเทียมตลอดถึงแนวทางการรักษาที่เป็นไปได้เมื่อเกิด peri-implant diseases

Peri-implant diseases แบ่งได้เป็น 2 ประเภทได้แก่

  1. Peri-implant mucositis : พบได้ประมาณ 80% ของผู้ป่วยและประมาณ 50% ของจำนวนรากเทียม
  2. Peri-implantitis พบได้ประมาณ 56% ของผู้ป่วยและประมาณ 43% ของจำนวนรากเทียม

จากข้อมูลนี้จะเห็นได้ว่ามีความเสี่ยงของการเกิดโรคใดโรคหนึ่งประมาณมากกว่าครึ่งของการทำรากเทียมทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นในส่วนของผู้ป่วยและจำนวนรากเทียม โดยข้อมูลแสดงให้เห็นว่าโรคที่ลุกลามไปมากกว่ามีโอกาสเกิดน้อยกว่านั่นอาจเป็นเพราะมีความสำเร็จในการจัดการไม่ให้โรคลุกลามไปได้ และสิ่งที่ทำให้ทันตแพทย์สามารถป้องกันการลุกลามไว้ได้น่าจะเกิดจาก การตรวจพบรอยโรคในระยะเริ่มแรกและให้การวินิจฉัยโรคอย่างแม่นยำเพื่อการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ อุปกรณ์สำคัญได้แก่

  1. Periodontal probe มีข้อสงสัยว่าจะสามารถหยั่งความลึกร่องปริทันต์ได้หรือไม่ในฟันรากเทียม ใน consensus นี้ได้บ่งบอกถึงความสำคัญอันยิ่งยวดของ probe และการหยั่งความลึกร่องปริทันต์ ไว้ว่า “เป็นสิ่งจำเป็น (essential) สำหรับใช้ประเมินการเป็นโรคและวินิจฉัยโรคโดยการเพิ่มขึ้นของความลึกเกี่ยวข้องกับการสูญเสีย attachment และ supporting bone, การเกิด bleeding on probing บ่งชี้ถึงการมีการอักเสบ (inflammation) และทำนายการเกิดการสูญเสีย tissue support ทั้งนี้จำเป็นต้องมีการตรวจด้วยการหยั่งความลึกร่องปริทันต์อย่างสม่ำเสมอด้วยแรงที่เหมาะสม (0.25 N) ซึ่งจะไม่ทำลาย peri-implant tissue”
  2. Radiograph(s) เป็นสิ่งจำเป็นในการประเมินสภาพของ supporting bone ในรายงานฉบับนี้กล่าวว่า Peri-implant crevicular fluid (PICF) ไม่มีประโยชน์สำหรับการให้การวินิจฉัย peri-implant diseases ในทางคลินิก นอกจากการตรวจทางคลินิกแล้วข้อมูลประวัติผู้ป่วยก่อน

ให้การรักษา / พฤติกรรมของผู้ป่วยบางประการที่มีผลต่อการเกิด peri-implant diseases ได้แก่

  1. Poor oral hygiene : มีการเกิดโรคสูงกว่าผู้มีการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีมาก (OR=14.3)
  2. History of periodontitis
  3. Cigarette smoking

ทั้งสามปัจจัยนี้มีหลักฐานอ้างอิงชัดเจนในการเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด peri-implant diseases ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆอีกหากว่ายังไม่มีข้อมูลสนับสนุนชัดเจนซึ่งได้แก่

  1. Diabetes with poor metabolic control
  2. Alcohol consumption

นอกจากนี้ยังคงมีการขัดแย้งกันในส่วนของ genetic traits และ implant surface ว่ามีความเกี่ยวเนื่องกับการเกิด peri-implant diseases หรือไม่ สำหรับการให้การรักษา peri-implant diseases นั้นเป็นการกำจัดการติดเชื้อ (antiinfective measures) ซึ่งมีอยู่ 2 แนวทาง ได้แก่

  1. Non-surgical treatment : มีประสิทธิภาพเพียงพอในการรักษา peri-implant mucositis หากใช้ร่วมกับน้ำยาบ้วนปาก (chlorhexidine) สำหรับการรักษา peri-implantitis นั้นมีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าการใช้ local antibioticsร่วมกับการรักษาโดยไม่ผ่าตัดสามารถลดการเกิด bleeding on probing และ probing depth สำหรับการใช้ laser นั้นยังคงต้องการการพิสูจน์ต่อไป
  2. Surgical treatment : การรักษารอยโรค peri-implantitis โดยการ debridement และ decontamination (chemical agents, air abrasives, lasers) ผิวของรากเทียม การศึกษาในมนุษย์แสดงให้เห็นว่าการทำ open debridement ร่วมกับการใช้ systemic antibiotics ก่อให้เกิดการหายของรอยโรคได้ 60% ของรอยโรค peri-implantitis ทั้งหมด สำหรับการทำregenerative procedures (bone graft with or without use of membranes) นั้นพอสรุปได้เพียงว่าการเกิด bone fill และการเกิด re-osseointegration น่าจะเกี่ยวข้องกับขนาดและลักษณะของ peri-implant defect จากข้อความข้างต้นอาจนำมาซึ่งข้อคิดที่จะนำไปใช้ในการรักษาผู้ป่วยและเกิดแนวคิดในการสร้างงานวิจัยเพื่อหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยที่เกิดรอยโรค peri-implantitis ต่อไป

เอกสารอ้างอิง

แปลและเรียบเรียงจาก “Peri-implant diseases:Consensus Report of the Sixth European Workshop on Periodontology”

แบบทดสอบ