ตัวกำหนดสุขภาพทางสังคม

บทความ

นิยาม Social determinants of health

องค์การอนามัยโลก ได้ให้คำนิยาม ตัวกำหนดสุขภาพทางสังคม (Social Determinants of Health) ว่าเป็นปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพของผู้คนที่นอกเหนือไปจากเรื่องทางการแ พทย์ แต่เกี่ยวข้องกับบริบททางสังคมที่แวดล้อมคนคนนั้น เช่น สภาพแวดล้อมที่บุคคลเกิด เติบโต ทำงาน ดำรงชีวิต จนถึงระบบต่างๆ ที่กำหนดเงื่อนไขในชีวิตประจำวัน เช่นระบบเศรษฐกิจ บรรทัดฐานทางสังคม นโยบายและระบบการเมือง การศึกษา การงานอาชีพ เป็นต้น ปัจจัยเหล่านี้มีส่งผลต่อความไม่เท่าเทียมทางสุขภาพ ทั้งในแง่การเจ็บป่วยและการเข้าถึงบริการสุขภาพ1

การศึกษาเกี่ยวกับตัวกำหนดสุขภาพทางสังคมที่มีผลต่อช่องปาก ชี้ว่าโรคในช่องปาก เช่น โรคฟันผุ โรคปริทันต์ มะเร็งช่องปาก และการสูญเสียฟัน แม้จะมาจากพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของแต่ละบุคคลก็จริง แต่พฤติกรรมของบุคคลนั้นๆ ได้รับอิทธิพลจากปัจจัยเชิงโครงสร้างที่แวดล้อมอยู่ เช่น การศึกษา รายได้ สภาพแวดล้อม ความเป็นอยู่ ระดับทางสังคม การเข้าถึงอุปกรณ์และความรู้ในการดูแลตนเอง ซึ่งปัจจัยเชิงโครงสร้างเหล่านี้เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมและการเข้าถึงบ ริการของบุคคลอีกชั้นหนึ่ง2

ตัวกำหนดสุขภาพทางสังคม อาจแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม

ได้แก่ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม 3 ตัวกำหนดทางวัฒนธรรม หมายถึงความเชื่อและทัศนคติของคนในสังคม ค่านิยม รสนิยม และการยอมรับจากกลุ่มเพื่อน ทำให้ผู้ที่อยู่ในสังคมนั้นๆมีแนวโน้มจะมีพฤติกรรมตามวัฒนธรรมของก ลุ่ม เช่น การดื่มน้ำอัดลมของคนหนุ่มสาว ตัวกำหนดทางสิ่งแวดล้อม หมายถึงปัจจัยทางกายภาพ เช่นภูมิประเทศ ที่ทำงาน โรงเรียน ร้านขายขนมและเครื่องดื่ม รวมทั้งระบบบริการก็จัดเป็นสิ่งแวดล้อมประการหนึ่ง ปัจจัยแวดล้อมที่เข้าถึง “ง่าย” หรือ “ยาก” จะส่งผลต่อพฤติกรรมของคน เช่น การกักตัวในช่วงแพร่ระบาดของโควิด 19 บ้านที่มีขนมหวานเก็บไว้ในบ้านแยะ เด็กก็จะกินขนมมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4 หรือผู้ที่อยู่ใกล้โรงพยาบาล จะมารับบริการมากกว่าและบ่อยกว่าผู้ที่อยู่ไกลโรงพยาบาล เด็กที่เรียนในโรงเรียนจำหน่ายน้ำอัดลม จะดื่มน้ำอัดลมเฉลี่ยต่อวันมากกว่าเด็กที่อยู่โรงเรียนไม่ขายน้ำอัดลม เป็นต้น ส่วนเรื่อง สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม มีการศึกษาจำนวนมากพบว่า การศึกษา รายได้ อาชีพ มีความสัมพันธ์กับอัตราการเกิดโรคฟันผุของผู้ใหญ่ 5 , 6 และเด็ก 7 และสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม มีอิทธิพลต่อโรคปริทันต์ 8 และมะเร็งช่องปาก 9 เช่นเดียวกัน

ความเข้าใจถึงตัวกำหนดสุขภาพทางสังคมที่มีผลต่อช่องปาก

ให้ประโยชน์อะไร การเข้าใจถึงอิทธิพลของตัวกำหนดสุขภาพทางสังคม ทำให้เห็นความซับซ้อนของปัญหาที่จะต้องมีมาตรการหลายระดับใ นการดูแลสุขภาพประชาชน ทำให้ตระหนักว่า การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อให้มีสุขภาพดี ไม่อาจเกิดได้จากการให้ความรู้เพียงอย่างเดียว แต่ต้องส่งเสริมให้มีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ด้วย เช่นเมื่อให้ความรู้ว่าควรแปรงฟันด้วยยาสีฟันมีฟลูออไรด์ 1,500 ppm ก็ต้องมีนโยบายกำหนดให้ยาสีฟันสามารถเติมฟลูออไรด์ได้ 1,500 ppm และส่งเสริมให้มีการจำหน่ายอย่างทั่วถึงในราคาเป็นธรรม อาจต้องสื่อสารสร้างกระแสเพื่อให้สังคมมีค่านิยมในการเลือกใช้ยาสีฟัน ที่มีฟลูออไรด์ เป็นต้น อีกตัวอย่างหนึ่งของตัวกำหนดสุขภาพทางสังคม คือเรื่องการตลาดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ที่ส่งผลกระท บต่อสุขภาพเด็ก มีการศึกษาจำนวนมากที่บ่งชี้ว่าการตลาดอาหารในกลุ่มพวกขนมและเค รื่องดื่มที่มีไขมัน น้ำตาล และโซเดียมสูง (High fat sugar salt: HFSS) กระตุ้นให้เด็กบริโภคอาหารเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น ได้รับปริมาณพลังงานโดยรวมเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อภาวะอ้วนและ NCDs และแน่นอนว่าส่งผลต่อสุขภาพช่องปากด้วย ประเทศทั่วโลกต่างก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน เด็กจะเผชิญกับการตลาดอาหารในรูปแบบต่างๆเช่น การโฆษณาทางโทรทัศน์หรืออินเตอร์เน็ตที่กระตุ้นความสนใจ การเป็นสปอนเซอร์โฆษณาเครื่องดื่มในสนามกีฬา ให้เป็นของขวัญหรือรางวัลในกิจกรรมโรงเรียนฯลฯ ด้วยเทคนิคการตลาดที่ซับซ้อน ชักจูงให้เด็กชื่นชอบและมีความภักดีในผลิตภัณฑ์ จึงเกิดการบริโภคอาหาร HFSS เพิ่มมากขึ้น ปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องเชิงโครงสร้าง การให้ความรู้เพียงอย่างเดียวจึงไม่เพียงพอที่จะทำให้เด็กและผู้ปกครอง ต้านทานต่อแรงกระตุ้นเพื่อให้มีพฤติกรรมการบริโภคที่ดีได้

ด้วยเหตุนี้ องค์การอนามัยโลกจึงออกแนะนำตั้งแต่ปี 2010 ปรับปรุงใหม่ปี 2023 10 ให้ทุกประเทศมีนโยบายที่เข้มงวดขึ้นเพื่อคุ้มครองเด็กจากผลกระทบขอ งการทำการตลาดอาหาร* โดยแนะนำให้ประเทศสมาชิกใช้นโยบายภาคบังคับที่ครอบคลุม เพื่อสร้างสภาวะแวดล้อมที่ดีในการบริโภคอาหาร เช่นควบคุมการตลาดทุกรูปแบบในโรงเรียน ควบคุมโฆษณาในรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก มีคำเตือน เป็นต้น *

นโยบายนี้หมายถึงมาตรการทั้งหมดในการควบคุมการตลาดที่ถึงตัวเด็ก (exposure) ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือทางกฎหมายภาคบังคับ หรือมาตรการโดยสมัครใจ (เช่น การกำหนดเป็นมาตรฐาน) หรือมาตรการที่ภาคอุตสาหกรรมอาหารดำเนินการควบคุมกันเองเพื่อจำ กัดการตลาด (เช่น กำหนดหลักปฏิบัติความรับผิดชอบที่เป็นข้อตกลงสำหรับทุกบริษัท)

ความเข้าใจตัวกำหนดสุขภาพทางสังคม จะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างหมอกับผู้ป่วยเป็นไปในทิศทางบวก การตำหนิติเตียนคนไข้ (victim blaming)จะไม่เกิดขึ้น ช่วยทำให้การจัดบริการมีความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำ เช่นจัดลำดับให้กลุ่มด้อยโอกาสกว่า ได้เข้าถึงบริการได้ง่ายกว่า ที่สำคัญจะต้องเพิ่มบทบาทด้านการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคม ากขึ้น โดยทำงานทั้งในระดับต้นน้ำ (Up-stream) ได้แก่งานเชิงนโยบาย ระดับกลางน้ำ (Mid-stream) ได้แก่การสื่อสารรณรงค์ในวงกว้าง ควบคู่ไปกับระดับปลายน้ำ (Down-stream) ได้แก่การให้ความรู้ การป้องกัน และให้การรักษาระดับบุคคล


เอกสารอ้างอิง

  1. https://www.who.int/health-topics/social-determinants-of- health#tab=tab_1
  2. Tellez, M., Zini, A. & Estupiñan-Day, S. Social Determinants and Oral Health: An Update. Curr Oral Health Rep 1, 148–152 (2014).
  3. สุดาดวง กฤษฎาพงษ์ ตัวกำหนดสุขภาพทางสังคมและการดำเนินงานกับประชากร: การนำไปใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564.
  4. Watanapa A, Ungchusak C, Tianviwat S.  Cariogenic snack consumption among Southern Thai preschool children and its international comparison during pandemic of COVID19: A cross-sectional study. J Int Oral Health 2021;1-6
  5. Costa SM, Martins CC, Bonfim Mde L, Zina LG, Paiva SM, Pordeus IA, Abreu MH. A systematic review of socioeconomic indicators and dental caries in adults. Int J Environ Res Public Health. 2012 Oct 10;9(10):3540-74. doi: 10.3390/ijerph9103540. PMID: 23202762; PMCID: PMC3509471
  6. Bernabé E, Sheiham A, Sabbah W. Income, income inequality, dental caries and dental care levels: an ecological study in rich countries. Caries Res. 2009;43(4):294-301. doi: 10.1159/000217862. Epub 2009 May 8. PMID: 19439951.
  7. Leelataweewud, P., Jirarattanasopha, V., Ungchusak, C. et al. Psychometric evaluation of the Thai version of the Early Childhood Oral Health Impact Scale (Th-ECOHIS): a cross sectional validation study. BMC Oral Health 21, 64 (2021). https://doi.org/10.1186/s12903-020-01332-y
  8. Borrell LN, Beck JD, Heiss G. Socioeconomic disadvantage and periodontal disease: the Dental Atherosclerosis Risk in Communities study. Am J Public Health. 2006 Feb;96(2):332-9. doi: 10.2105/AJPH.2004.055277. Epub 2005 Dec 27. PMID: 16380570; PMCID: PMC1470476.
  9. Conway DI, Petticrew M, Marlborough H, Berthiller J, Hashibe M, Macpherson LM. Socioeconomic inequalities and oral cancer risk: a systematic review and meta-analysis of case–control studies. Int J Cancer 2008; 122: 2811–2819
  10. Policies to protect children from the harmful impact of food marketing: WHO Guideline 3 July 2023 https://www.who.int/publications/i/item/9789240075412

ผู้เขียน/ผู้จัดทำ

ทพญ จันทนา อึ้งชูศักดิ์

แบบทดสอบ