ข้อสอบการศึกษาต่อเนื่อง สาขาวิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปาก

บทความ

ข้อสอบการศึกษาต่อเนื่อง สาขาวิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปาก

“Precancer”,  “Premalignant” และ “Potentially malignant” ได้ถูกนำมาใช้เพื่ออธิบายลักษณะทางคลินิกของรอยโรคที่สามารถเปลี่ยนเป็นมะเร็ง รอยโรคในช่องปากเหล่านี้ที่พบได้คือ leukoplakia, erythroplakia, และ lichen planus   ส่วนรอยโรคอื่นๆที่พบได้น้อยเช่น palatal lesions in reverse smokers, submucous fibrosis, actinic cheilitis, Fanconi’s  anaemia, discoid lupus erythematosus, dyskeratosis congenital และ xeroderma pigmentosum (1,2)

รอยโรค Leukoplakia เดิมถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Premalignant lesions   เมื่อปี ค.ศ. 2005 World Health Organization ได้มีการจัดประชุมที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ  และสรุปให้มีการทบทวนการจำแนกรอยโรคที่อยู่ในกลุ่ม premalignant lesions และ precancerous conditions  โดยเปลี่ยนแปลงให้ใช้ชื่อรวมกันเรียกว่า Potentially malignant disorders (PMDs) แทน (3)  ซึ่งลักษณะของ leukoplakia ที่พบได้ในช่องปากจะมี 2 แบบคือ (2)

  1. Homogeneous  รอยโรคจะเป็นฝ้าขาว  แบนราบและบาง เช็ดถูไม่ออก ผู้ป่วยมักไม่มีอาการ  โอกาสเปลี่ยนเป็นมะเร็งพบได้น้อย
  2. Non Homogenous รอยโรคชนิดนี้  ผู้ป่วยมักมีอาการ และมีลักษณะในช่องปากหลายรูปแบบ ดังนี้
  • nodular:  จะมีลักษณะมีการงอกเกินเล็กๆ มีสีแดงหรือสีฃาวยื่นออกจากผิวของรอยโรค
  • verrucous: ลักษณะในช่องปากจะเป็นรอยย่นผิวขรุขระ
  • speckled: มีลักษณะของรอยโรครวมกันทั้งรอยขาวและรอยแดง เรียกว่า erythroleukoplakia  รอยโรคลักษณะนี้มีโอกาสเปลี่ยนเป็นมะเร็งในช่องปากได้สูง

มีรายงานถึงปัจจัยเสี่ยงที่มีนัยสำคัญของการเปลี่ยนเป็นมะเร็งของ Leukoplakia ดังนี้ (2)

  • เพศหญิง
  • มีรอยโรค leukoplakia เป็นระยะเวลานาน
  • Leukoplakia ในผู้ไม่สูบบุหรี่ (idiopathic leukoplakia)
  • ตำแหน่งบริเวณลิ้นและ/หรือพื้นช่องปาก
  • ขนาดรอยโรค > 200 มม2
  • ชนิด Non-homogeneous
  • พบการแทรกตัวของเชื้อ  C. albicans
  • พบเซลล์มีลักษณะผิดรูป
  • มีความผิดปกติของจำนวน  DNA ( aneuploidy)
  • มีประวัติของมะเร็งบริเวณศีรษะและคอมาก่อน

กรณีศึกษา

ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 50 ปี  อาชีพ นักธุรกิจ   มาพบทันตแพทย์ด้วยอาการเจ็บบริเวณด้านข้างของลิ้นด้านขวามานานกว่า 6 เดือน   จากการซักประวัติ  ผู้ป่วยปฏิเสธโรคทางระบบ ไม่ได้รับประทานยาชนิดใดๆ ไม่มีประวัติแพ้ยา ไม่สูบบุหรี่หรือดื่มอัลกอฮอล์  ผู้ป่วยพบทันตแพทย์สม่ำเสมอทุก 6 เดือน   แปรงฟันวันละ 2 ครั้ง   ผู้ป่วยให้ประวัติว่าบริเวณข้างลิ้นเคยเป็นแผลจากการถูกตะขอลวดของฟันปลอมชนิดถอดได้หลายปีก่อน  เมื่อประมาณ 1 ปี 6 เดือน ผู้ป่วยได้ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง และเคยถูกตัดชิ้นเนื้อบริเวณนี้ไปตรวจ  แพทย์แจ้งว่ามีความผิดปกติของเซลล์บริเวณนี้  เคยได้รับการรักษาด้วยยาทาเฉพาะที่ไม่ทราบชื่อ และอาการดีขึ้นเล็กน้อย      จากการตรวจภายนอกช่องปาก พบใบหน้าสมมาตร  ต่อมน้ำเหลืองใต้คางคลำปกติ      จากการตรวจภายในช่องปาก    พบว่าสภาพในช่องปากทั่วไปดี   ในช่องปากบริเวณด้านข้างลิ้นด้านขวาพบรอยแดงขนาด 4x1.6 cm  ขอบเขตไม่ชัดเจน   ร่วมกับแผลกระจายหลายแห่งและแผ่นฝ้าขาวเช็ดไม่ออกบริเวณด้านขอบล่างของรอยโรค (ดังภาพ)   บริเวณด้านข้างลิ้นข้างซ้ายพบแผ่นฝ้าขาวสม่ำเสมอเช็ดไม่ออกขนาด 0.5x0.6 cm


เอกสารอ้างอิง

  1. Neville BW, Damm DD, Allen CM, Chi AC. Oral and Maxillofacial Pathology. 4th edition, St. Louis: Saunders Elsevier; 2016.
  2. Diz P, Gorsky M, Johnson NW, Kragelund C, Manfredi M, Odell E, et al. Oral leukoplakia and erythroplakia: a protocol for diagnosis and management. European Association of Oral Medicine-Diagnostic and Therapeutic protocols Oral leukoplakia and erythroplakia. EAOM  2011[cited 2011 July]; Available from: URL: http://www.eaomedicine.com.
  3. Warnakulasuriya S, Johnson NW, van der Waal I. Nomenclature and classification of potentially malignant disorders of the oral mucosa. J Oral Pathol Med 2007; 36: 575-80.

ผู้เขียน/ผู้จัดทำ

ศ. ทญ. กอบกาญจน์ ทองประสม

แบบทดสอบ