การใช้ยาในการรักษาทางทันตกรรม สำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

บทความ

การใช้ยาในการรักษาทางทันตกรรม สำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

นิยาม และการจำแนกประเภทหรือระยะของโรคไตเรื้อรัง

The National Kidney Foundation ได้ให้คำจำกัดความของโรคไตเรื้อรัง (chronic kidney disease: CKD) คือ “โรคที่มีความผิดปกติของโครงสร้าง หรือการทำงานของไตที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ป่วย คงอยู่นานมากกว่า 3 เดือน” โดยการประเมินจากข้อบ่งชี้ที่แสดงถึงความเสียหายต่อไต (markers of kidney damage) เช่น ภาวะปัสสาวะมีแอลบูมิน (albuminuria) ความผิดปกติของไตที่ตรวจพบจากภาพถ่ายทางการแพทย์ หรือการตรวจทางจุลพยาธิวิทยา มีประวัติการปลูกถ่ายไต นิ่วในไต เป็นต้น หรือมีค่า glomerular filtration rate (GFR) น้อยกว่า 60 ml/min/1.73 m2 โดยจำแนกระยะหรือประเภทของโรคตามการทำงานของไตซึ่งประเมินโดยใช้ค่า GFR ได้ดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 แสดงการจำแนกประเภทของ GFR ในโรค CKD

GFR category

GFR (ml/min/1.73 m2)

Term

G1

≥90

Normal or high

G2

60 – 89

Mildly decreased

G3a

45 – 59

Mildly to moderately decreased

G3b

30 – 44

Moderately to severely decreased

G4

15 – 29

Severely decreased

G5

< 15

Kidney failure

การประเมินค่า glomerular filtration rate

โดยการประเมิน GFR แนะนำให้ใช้วิธีการคำนวณจากสมการ CKD-EPI (Chronic Kidney Disease Epidemiology Collaboration) equation ดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2 สมการ CKD-EPI จำแนกตามเพศและระดับครีแอตินินในเลือด (serum creatinine: SCr)

Sex

Serum creatinine (mg/dl)

CKD-EPI equation

Female

≤ 0.7

eGFR = 144 x (SCr/0.7)-0.329 x (0.993)Age

 

> 0.7

eGFR = 144 x (SCr/0.7)-1.209 x (0.993)Age

Male

≤ 0.9

eGFR = 141 x (SCr/0.9)-0.411 x (0.993)Age

 

> 0.9

eGFR = 141 x (SCr/0.9)-1.209 x (0.993)Age

หรือประเมิน GFR โดยใช้สมการ “Thai estimated GFR equation” คือ
eGFR = 375.5 x SCr(-0.848) x Age(-0.364) x 0.712 (ถ้าเป็นผู้หญิง)

การบริหารยาในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

การบริหารยาในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ควรมีการปรับเปลี่ยนตามการทำงานของไตของผู้ป่วยแต่ละรายโดยใช้การประเมินค่า GFR ตามสมการดังกล่าวข้างต้น โดยอาจลดขนาดยา หรือเพิ่มระยะห่างของการบริหารยา หรือใช้ทั้งสองวิธีร่วมกัน บทความนี้จะกล่าวถึงการปรับเปลี่ยนยาที่มักใช้บ่อยทางทันตกรรมเท่านั้น

Antimicrobial agents

Drug

Drug

Dose

(normal renal function)

GFR > 50-90

GFR 10-50

GFR < 10

Hemodialysis

CAPD*

Amoxicillin

250-500 mg

po q8h

250-500 mg q8h

250-500 mg q8-12h

250-500 mg q24h

Supplement dose after dialysis

250 mg q12h

Amoxicillin / clavulonate

500/125 mg

po q8h

500/125 mg q8h

250-500 mg (amoxicilin)

q8-12h

250-500 mg (amoxicillin) q24h

Supplement dose after dialysis

No data

Clindamycin

150-300 mg po q6h

No adjustment

No supplement dose after dialysis

No adjustment

Metronidazole

250-500 mg

po q8-12h

No adjustment

Supplement dose after dialysis

No adjustment

Tetracycline

250-500 mg

po q6h

250-500 mg

q8-12h

250-500 mg

q12-24h

250-500 mg

q24h

250-500 mg

q24h

250-500 mg

q24h

CAPD – continuous ambulatory peritoneal dialysis

Analgesics

Drug

Dose

(normal renal function)

GFR > 30

GFR 10-30

GFR < 10

Hemodialysis

Comment

Paracetamol

325-650 mg

po q4-6h

325-650 mg

po q4-6h

325-650 mg

po q6h

325-650 mg

po q8h

No supplement dose after dialysis

Consider dose reduction when GFR < 30

Ibuprofen

200-400 mg

po q4-6h

No adjustment

Avoid in NSAIDs when

GFR < 30

No supplement dose after dialysis

Avoid prolonged therapy when GFR < 60

Tramadol

50-100 mg

po q4-6h

50-100 mg po q6-12h

50-100 mg po q6-12h

25-50 mg po q12h

Supplement dose after dialysis

- Reduce dose when GFR < 60

- Avoid extended release

หมายเหตุ การปรับเปลี่ยนการบริหารยาของหนังสืออ้างอิงแต่ละฉบับมีความแตกต่างกัน บทความนี้เป็นการรวบรวมเนื้อหาจากหนังสืออ้างอิงหลายฉบับตามความเห็นของผู้เขียนเพื่อเป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนการบริหารยาในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเบื้องต้นเท่านั้น ทันตแพทย์ควรพิจารณาการบริหารยาในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย


เอกสารอ้างอิง

  1. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. คำแนะนำสำหรับการดูแลผู้ป่วยไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต พ.ศ. 2558.
  2. Inker LA, Astor BC, Fox CH, Isakova T, Lash JP, Peralta CA, Tamura MK, Feldman HI. KDOQI US commentary on the 2012 KDIGO clinical practice guideline for the evaluation and management of CKD. Am J Kidney Dis. 2014;63(5):713-735.
  3. Munar MY, Singh H. Drug dosing adjustments in patients with chronic kidney disease. Am Fam Physician 2007;75:1487-96.
  4. Gilbert DN, Chambers HF, Eliopoulos GM, Saag MS, Pavia AT, Black D, Freedman DO, Kim K, Schwartz BS. The Sanford guide to antimicrobial therapy 46th edition. 2016.
  5. Little JW, Miller CS, Rhodus NL. Dental management of the medically compromised patient 9th edition. 2018.

ผู้เขียน/ผู้จัดทำ

ผศ.ทพ.นพ. ธิติพงษ์ พฤกษศรีสกุล
ภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปาก
คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แบบทดสอบ