การใช้ยาทางจิตเวชในผู้ใหญ่

บทความ

การใช้ยาทางจิตเวชในผู้ใหญ่

ยาทางจิตเวช เป็นกลุ่มยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท กลไกการออกฤทธิ์ของยาในกลุ่มนี้เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทซึ่งมีผลต่อความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมของผู้ป่วย และสามารถนำมาใช้รักษาโรคทางจิตเวชได้ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวถึงยาทางจิตเวชในผู้ใหญ่

ยาต้านอาการทางจิต (Antipsychotics)

ในปัจจุบันแบ่งเป็น 2กลุ่ม ได้แก่

  1. ยารักษาโรคจิตกลุ่ม typical
    กลไลการออกฤทธิ์ 
    คือ การยับยั้งสารสื่อประสาท dopamine โดยเฉพาะที่ D2 receptor
    ข้อบ่งชี้ ใช้ลดอาการด้านบวกในโรคจิตเภทได้ดี นอกจากนี้ยังใช้ในภาวะเพ้อ(delirium)และอาการโรคจิตที่เกิดขึ้นจากกลุ่มโรคอารมณ์สองขั้ว(bipolar and related disorders)กลุ่มโรคซึมเศร้า(depressive disorder)และโรคอื่นได้
    รูปแบบยา บางชนิดมีรูปยาฉีดที่ออกฤทธิ์ทันที และยาฉีดที่ออกฤทธิ์ระยะยาวด้วย ตัวอย่างยา      กลุ่มนี้ chlopromazine, flupentixol,fluphenazine,haloperidol,perphenazine,pimozide,thioridazine,trifluoperazine และ zuclopentixol
  2. ยารักษาโรคจิตกลุ่ม atypical
    กลไลการออกฤทธิ์ 
    ยับยั้งสารสื่อประสาท dopamine และ serotonin
    ข้อบ่งชี้ สามารถรักษาอาการด้านบวกและอาการด้านลบในผู้ป่วยโรคจิตจิตเภทได้ใช้ได้ในผู้ป่วย delirium และโรค bipolar disorder รวมถึงโรคซึมเศร้า
    ผลข้างเคียง ด้าน EPS มีน้อยลง แต่จะมีด้านอื่น ซึ่งยาแต่ละชนิดจะมีผลข้างเคียงแตกต่างกันไป ยารักษาโรคจิตในกลุ่มatypicalตัวอย่างยากลุ่มนี้: clozapine,olanzapine,paliperidone,quetiapine,risperidone,ziprasidoneและ aripiprazole

ยาต้านเศร้า (Antidepressant)

ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3กลุ่มใหญ่ได้แก่

  1. ยาต้านเศร้าในกลุ่ม first generationมีสองกลุ่มย่อยได้แก่
    1. ยาต้านเศร้ากลุ่ม tricyclic (TCA)
      กลไลการออกฤทธิ์หลัก ยับยั้งการเก็บกลับของ serotonin และ norepinephrineทำให้ปริมาณของสารสื่อประสาททั้งสองชนิดนี้เพิ่มขึ้น แต่ยังมีผลต่อระบบ cholinergicด้วยแม้มีประสิทธิภาพดีแต่มีผลข้างเคียงหลายระบบโดยเฉพาะอาจเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตหากกินยาเกินขนาด ตัวอย่างยากลุ่มนี้ : amitriptyline ,Nortriptyline ,Imipramine ,Clomipramine ,Doxepine 50-150mg
    2. ยาต้านเศร้ากลุ่ม monoamine oxidase inhibitor(MAOI)
      กลไลการออกฤทธิ์หลัก ยับยั้งเอนไซม์ monoamine oxidase inhibitor ชนิด A ซึ่งจะทำให้การสลายของสาร serotonin และ norepinephrine น้อยลง                                                                                                                       
    3. ยาต้านเศร้าในกลุ่มserotonin antagonist and reuptake inhibitor(SARI)
      กลไลการออกฤทธิ์หลัก ออกฤทธิ์ต้านสาร serotonin และยังยับยั้งการเก็บกลับของserotonin ด้วยได้แก่ trazodone ใช้ต่อเนื่องกันมานาน แต่ปัจจุบันไม่นิยมแต่อาจช่วยเรื่องการนอนเพราะมีฤทธิ์ทำให้ง่วง
  2. ยาต้านเศร้าในกลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitor(SSRI)
    กลไลการออกฤทธิ์หลัก ยับยั้งการเก็บกลับของสาร serotonin ที่ปลายประสาท ได้แก่ fluoxetine,sertraline,paroxetine,escitalopram และ fluvoxamine
    ข้อบ่งชี้ เป็นกลุ่มยาหลักที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรค panic disorder โรคย้ำคิดย้ำทำ รวมถึงโรค posttraumatic stress disorder ในปัจจุบัน
  3. ยาต้านเศร้าในกลุ่ม third generation ได้แก่ venlafaxine,duloxetine,desvenlafaxine และ milnacipran

ยาปรับอารมณ์ (Mood stabilizer)

ยาปรับอารมณ์ใช้ในการควบคุมอารมณ์ในผู้ป่วย bipolar disorder ทั้งในระยะเฉียบพลัน และระยะยาวเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรค จากคำแนะนำในแนวทางการรักษาโรค bipolar disorders ในต่างประเทศอาจใช้ยารักษาโรคจิตในกลุ่ม atypical บางตัวแทนได้   การบริหารยากลุ่มนี้ในระยะ mania เฉียบพลันอาจต้องใช้ยากลุ่มอื่นเสริม เช่น ยารักษาโรคจิต หรือ benzodiazepine เพื่อช่วยควบคุมอาการอย่างรวดเร็ว

มียา 4 ชนิดที่จัดเป็นยาลำดับแรกที่ควรเลือกใช้ได้แก่                             

  1. Lithium 
    กลไลการออกฤทธิ์
    ไม่ทราบกลไกที่แน่ชัด คาดว่าช่วยปรับเปลี่ยนการผ่านเข้าออกเซลล์ของ sodium และปรับเปลี่ยนเมทาบอลิซึมของสารสื่อประสาทหลายชนิด รวมถึง อาจออกฤทธิ์ผ่านระบบ second messenger
  2. sodium valproate/valproic acid
    กลไลการออกฤทธิ์ 
    จัดอยู่ในกลุ่มยากันชัก กลไกหลักคือ การยับยั้ง sodium channel และเพิ่มปริมาณ GABA
    ข้อบ่งชี้ ใช้รักษาภาวะ mania เฉียบพลัน
  3. carbamazepine
    กลไลการออกฤทธิ์ 
    จัดอยู่ในกลุ่มยากันชักกลไกหลักคือ การปิดกั้น sodium channel และยับยั้ง glutamate
    ข้อบ่งชี้ ใช้รักษาภาวะ mania เฉียบพลัน
  4. lamotrigine
    กลไลการออกฤทธิ์ 
    จัดอยู่ในกลุ่มยากันชัก กลไกหลักคือ การยับยั้ง sodium channel และยับยั้ง glutamate และ aspartate
    ข้อบ่งชี้ ใช้รักษา ใช้รักษาอาการซึมเศร้าในโรค bipolar disorder

ยาคลายกังวล (Antianxiety)

ใช้ช่วยคลายความวิตกกังวล และช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น แต่อาจมีความเสี่ยงต่อการเสพติดหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานแบ่งได้เป็น 4กลุ่มดังต่อไปนี้

  1. Benzodiazepine
    กลไลการออกฤทธิ์ 
    ออกฤทธิ์ที่ benzodiazepine หรือ omega receptor บน GABA receptor จะเสริมการทำงานของ GABA ทำให้เกิดผลยับยั้งต่อสมองโดยรวม
    ข้อบ่งชี้  ช่วยลดความวิตกกังวลและทำให้นอนหลับ มักใช้ในระยะสั้นๆ ยาบางชนิดในกลุ่มนี้นำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่ต้องการเลิกดื่มสุรา เพื่อป้องกันอาการขาดสุรา ได้แก่ diazepam,lorazepam,aiprazolam,clonazepam,clorazepate ,midazolam,tofisopam,nitrazepamและ flunitrazepam(Rohypnol)
  2. ยานอนหลับที่ไม่ใช่ benzodiazepine(non-benzodiazepine hypnotic) ได้แก่ zolpidem จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2ใช้เพื่อช่วยการนอนซึ่งควรให้ในระยะสั้นๆ
  3. melatonin เป็นสารที่ออกฤทธิ์ทำให้ง่วงนอนตามธรรมชาติ ควรให้กินก่อนนอนประมาณ 2ชั่วโมง ยังไม่มีข้อมูลยืนยันประสิทธิภาพของยานี้ในระยะยาว
  4. buspironeใช้รักษาโรควิตกกังวลได้ผลดี แต่ปัจจุบันไม่มีในบัญชียาโรงพยาบาล

เอกสารอ้างอิง

  1. จิตเวชศิริราช DSM-5/ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ: ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์; 2558. หน้า579-589.
  2. Stahl  SM. Stahls essential psychopharmacology: neuroscientific basis and practical applications. 3rded. USA: Cambridge University Press; 2008.
  3. Sadock BJ, Sadock VA. Kaplan & Sadock,s synopsis of psychiatry: behavioral sciences/clinical psychiatry.10th ed. Philadelphia, PA: Lippincott Williams & Wilkins; 2007.
  4. American Psychiatric Association. American  Psychiatric Association practice guidelines for the treatment of psychiatric disorders: compendium 2004. USA: American Psychiatric Association; 2004.
  5. Bazire S. Psychotropic drug directory 2003/2004: the professionals, pocket handbook & aide memoire. England: Fivepin Publishing; 2003.
  6. Yatham LN, Kennedy SH, Parikh SV, Scharffer A,Beaulieu S,  Alda M, et al.Canadian network for mood and anxiety treatments (CANMAT) and international society for bipolar disorders(ISBD) collaborative update of CANMAT guidelines for the management of patients with bipolar disorder: update 2013. Bipolar Disord 2013;15:1-44.
  7. Stein DJ, Lerer B, Stahl S. Evidence-based psychopharmacology. India: Cambridge University Press; 2006.

ผู้เขียน/ผู้จัดทำ

อุไรภรณ์ กล้าทำ
​โรงพยาบาล สวนปรุง

แบบทดสอบ