ผลข้างเคียงในช่องปากของยาทางจิตเวชในผู้ใหญ่

บทความ

ผลข้างเคียงในช่องปากของยาทางจิตเวชในผู้ใหญ่

ตาราง แสดงยารักษาโรคจิตในผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการรักษาทางทันตกรรม

ยาทางจิตเวช

ผลข้างเคียงในช่องปาก

Drug interaction ต่อยาทันตกรรม

ผลจาก Drug interaction ต่อยาทันตกรรม

หมายเหตุ

1. ยารักษาโรคจิต (antipsychoticmedication)

1.1 ยารักษาโรคจิต (antipsychoticmedication)

  • conventional antipsychotic medication)

  • คลอโพรมาซีน (chlorpromazine)

  • ฮาโลเพอริดัล (haloperidol)

  • ไตรฟลูโอเพอราซี (trifluoperazine)

  • ฟลูเพนาซีน (fluphenazine)

  • ไทโอริดาซีน (thioridazine)

1.กลุ่มอาการเอ็กตราพิรามิดัล (extrapyramidalsymptoms :EPS)

  • acute dystonia ลิ้นแข็ง พูดหรือกลืนลำบาก เกร็งกล้าม เนื้อใบหน้า ลำคอ
  • parkinsonism ปากสั่น เหมือนปากกระต่าย (rabbit syndrome) สีหน้าไร้อารมณ์ (mask face) น้ำลายไหล กลืน น้ำลายไม่ลง
  • tardive dyskinesia ดูดหรือ ขมุบขมิบปากและมีลิ้นม้วนไปมาในปากหรือเอาลิ้นดุนแก้ม ผู้ป่วยทำโดยไม่รู้ตัวหากเป็น มาระยะหนึ่งถึงแม้หยุดยา อาการจะยังไม่หาย ทำให้มีผล ต่อการทำฟัน รวมถึงการใส่ฟัน

2. อาการอื่นๆ

  • ฤทธิ์ต้านโคลิเนอร์จิก (anticholinergic effects) ปากแห้ง น้ำลายน้อย
     

1.2 ยารักษาโรคจิตกลุ่มใหม่

(atypical antipsychotic medication)

  • โคลซาปีน(clozapine)

  • รีสเปอริโดน (risperidone)

  • โอแลนซาปีน (olanzapine)

  • คิวไทอะพีน (quetiapine)

  • น้ำลายไหลมาก (sialorrhea)
  • ปากสั่นเหมือนปากกระต่าย (rabbit syndrome)
  • หน้าสั่น สะบัดไปมา

 

 

  • ผลข้างเคียง EPS น้อยกว่า ยารักษาโรค กลุ่มดั้งเดิม

2. ยารักษาโรคซึมเศร้า (Antidepressant)

2.1. ยารักษาโรคซึมเศร้ากลุ่มเอส เอสอาร์ไอ (selective serotonin reuptake inhibitors : SSRIs)

  • ฟลูอ็อกซีทีน (fluoxetine)
  • ไซตาโลแพรม (citalopram)
  • ฟลูว็อกซามีน (fluvoxamine)
  • พาร็อกซีทีน (paroxetine)
  • เซอร์ทราลีน (sertraline)
  • น้ำลายแห้ง การรับรส เปลี่ยนแปลง (dysgeusia)
  • มีการอักเสบของเยื่อบุช่อง ปาก(stomatitis) ลิ้น (glossitis) และต่อมน้ำลาย l เหงือกบวม
  • มักมีการกัดเน้นฟันหรือ นอนกัดฟัน (clenching or bruxism)
  • ยากลุ่มโคเดอีน (codeine)
  • อีริโทรมัยซิน (erythromycin)
  • คาร์บามาซีนปิน(carbamazepine)
  • เบนโซไดอะเซพีน (benzodiazepine)
  • ยากลุ่ม SSRIs ลดการกำจัดยาที่ใช้ ทางทันตกรรม ทำให้ ความเข้มข้นของยา เพิ่มขึ้น
  • ปรับขนาดยา ที่ใช้ทางทันต กรรมให้น้อยลง

2.2 ยารักษาโรคซึมเศร้ากลุ่มใหม่ (atypical antidepressant)

  • บูโพรพิออน(bupropion)
  • เมอร์ทาซาปีน (mirtazapine)
  • เวนลาแฟกซีน(venlafaxine)
  • เมอร์ทาซาปีน (mirtazapine)
  • เหมือนกลุ่ม SSRIs

ยาชาที่มีส่วนผสมของ อะดรีนาลีน (adrenaline) โดยเฉพาะในรายที่ได้รับยา- รีบ็อกซีติน (reboxetine)

  • เวนลาแฟกซีน (venlafaxine)
  • เดสเวนลาแฟกซีน (desvenlafaxine)
  • เพิ่มความดันซิสโทลิก (systolic pressure)

 

2.3 ยารักษาโรคซึมเศร้ากลุ่มทีซีเอ (tricyclic antidepressants (TCA)

  • อะมิทริบไทลีน (amitriptyline)
  • อิมิพรามีน (imipramine)
  • นอร์ทริบไทลีน (nortriptyline)
  • โคลมิพรามีน (clomipramine)
  • น้ำลายแห้ง (พบร้อยละ 50) การรับรสเปลี่ยนแปลง
  • อาจพบต่อมน้ำลายอักเสบ เยื่อบุช่องปากอักเสบ หรือลิ้นบวม
  • อิพิเนฟรินepinephrine)
  • ลีโวนอร์ดีฟริน(levonordefrin)
  • อะเซตามิโนเฟน(acetaminophen)
  • - เพิ่มความดันซิสโทลิกและเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (cardiac dysrythmia)
  • เพิ่มระดับยา TCA ในเลือด
  • ยาชาที่มีepinephrine 1:100,000สามารถใช้ได้ไม่ เกิน 0.04 mg หรือไม่เกิน 3 หลอด และ ระวังการฉีดเข้าเส้นเลือด โดยแนะนำให้ใช้การฉีดยาชาแบบวิธีดูกลับ

2.4 ยารักษาโรคซึมเศร้ากลุ่มเอ็ม เอโอไอ (MAOIs)

  • ม็อกโคลบีไมด์ (moclobemide)
  • น้ำลายแห้ง แต่พบได้น้อย กว่ากลุ่ม TCA
  • ยาระงับปวดกลุ่ม โอปิออยด์ ซึ่งเป็นชนิด เสพติด (narcotic analgesic) เช่น เมเพอริดีน (meperidine : Demerol®) เป็นต้น
  • ภาวะตัวร้อนเกิน หรือ ภาวะไข้สูง (severe hyper- thermia)
  • ความดันโลหิตสูง (hypertension)
  • หัวใจเต้นเร็วผิด ปกติ(tachycardia)
  • หลีกเลี่ยง การใช้ยากลุ่ม เมเพอริดีนที่ รู้จักกันในชื่อ Demerol®
  • ปรับขนาดยาแก้ปวด

3. ยาทำให้อารมณ์คงที่(Mood stabilizers)

3.1 ลิเทียม (lithium)

  • น้ำลายแห้ง
  • เป็นฝ้าขาวในช่องปากแบบ ไลเคนอยด์ (lichenoid stomatitis)
  • รู้สึกถึงรสโลหะในปาก (metallic taste) และการรับ รสเปลี่ยนแปลง
  • เมโทรไนดาโซล (metronidazole)
  • ยาต้านอักเสบชนิด ไม่ใช่ สเตียรอยด์ (non-steroidal anti-inflammatory drugs : NSAIDs)
  • เตตราไซคลิน (tetracycline)
  • อีริโทรมัยซิน(erythromycin
  • ลิเทียมคั่งในไต และอาจทำให้เกิด พิษของลิเทียม
  • ระดับลิเทียมในพลาสม่าสูงขึ้น

 

3.2 วาลโพรเอทโซเดียม (valproate sodium)

  • อาจมีภาวะเลือดหยุดช้า หรือเลือดออกง่ายกว่าปกติ ภายหลังการรักษาทางทันตกรรม
  • น้ำลายแห้ง ลิ้นอักเสบ
  • อีริโทรมัยซิน
  • แอสไพริน (aspirin)
  • ยับยั้งการทำลาย วาลโพรเอทโซเดียม ที่ตับ (ทำให้ระดับยา วาลโพรเอทโซเดียม ในเลือดเพิ่มสูงขึ้น)
 

3.3 คาร์บามาซีปีน (carbamazepine)

  • น้ำลายแห้ง ลิ้นอักเสบ
  • อีริโทรมัยซิน
  • คลาริโทรมัยซิน (clarithromycin)
  • โพรพรอกซีพีน (proproxyphene)
  • ยับยั้งการทำลาย คาร์บามาซีปีนที่ตับ

 

4. ยาคลายกังวล (antianxiety) โดยเฉพาะกลุ่มเบนโซไดอะซิปีน (benzodiazepine)​

  • ไดอะซีแพม (diazepam)
  • ลอราซีแพม (lorazepam)
  • โคลนาซีแพม (clonazepam)
  • คลอบาแซม(clobazam)
  • น้ำลายแห้งมาก
  • - ยาแก้ปวดกลุ่มโอพิ ออยด์ (opioid analgesics)
  • ยาต้านฮีสตามีน (antihistamine)
  • ยาคีโตโคนาโซล (ketoconazole)
  • เพิ่มฤทธิ์ของยา เบนโซไดอะเซพีน (benzodiazepine)

 


เอกสารอ้างอิง

  1. แนวทางการรักษาทางทันตกรรมผู้ป่วยจิตเวช ฉบับที่ 2 พ.ศ.2557
  2. สาธกา ธาตรีนรานนท์. การรักษาทางทันตกรรมในผู้ป่วยจิตเวช.ว.ทันต 2552;59:51-62.
  3. Friedlander AH, Mahler ME. Major depressive disorder: psychopathology,medical management and dental implications. J Am Dent Assoc 2001;132:629-38.

ผู้เขียน/ผู้จัดทำ

อุไรภรณ์ กล้าทำ
โรงพยาบาลสวนปรุง

แบบทดสอบ