ผลข้างเคียงของยาที่ใช้ในผู้ป่วยจิตเวชเด็กต่อช่องปาก

บทความ

ผลข้างเคียงของยาที่ใช้ในผู้ป่วยจิตเวชเด็กต่อช่องปาก

การรักษาผู้ป่วยเด็กพิเศษมีเป้าหมายการรักษาอยู่ที่ การกระตุ้นและฟื้นฟูพัฒนาการในด้านต่าง ๆ  โดยการรักษาที่ได้ผลดีที่สุดคือ การปรับพฤติกรรมและฝึกทักษะทางสังคม การกระตุ้นพัฒนาการ และการรักษาด้วยยา การรักษาด้วยยามีส่วนสำคัญเพื่อลดพฤติกรรมที่เป็นปัญหาและเพื่อให้การฝึกดำเนินต่อด้วยความราบรื่น โดยยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยเด็กพิเศษจะมีความแตกต่างกันตามโรคและอาการของเด็ก แต่พบว่าการรัษาด้วยยาอาจส่งผลให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาได้ เช่นยารักษาโรคจิตกลุ่มใหม่ (Atypical antipsychotics) มีอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาที่พบบ่อยคือ acute extrapyramidal  side effect (เมื่อใช้ risperidone ในขนาดที่สูง) ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติระดับน้ำตาลในเลือดสูงและภาวะ hyperprolactinaemia ส่วนอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดในช่องปากเป็นหนึ่งในอาการไม่พึงประสงค์ที่สำคัญ เนื่องจากเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดฟันผุ ส่งผลต่อการรับประทานอาหารของเด็ก และบางอาการ เช่น น้ำลายมาก เหงือกโต ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของเด็ก นำไปสู่ความไม่ร่วมมือในการใช้ยาได้ แต่อย่างไรก็ตามอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่องปากต้องพิจารณาสาเหตุอื่นๆก่อนจะตัดสินใจว่าเกิดจากยา รวมทั้งระยะเวลาที่ได้รับยาและช่วงเวลาที่เกิดอาการ

ตารางที่ 2.1 ยาที่ใช้ในผู้ป่วยเด็กพิเศษที่มีผลต่อการรักษาทางทันตกรรม

ประเภทของยา

ผลข้างเคียงในช่องปาก

Drug interaction

ต่อยาทันตกรรม

ผลจาก Drug Interaction

ต่อยาทันตกรรม

หมายเหตุ

1.ยารักษาโรคจิต (antipsychotic drugs)

1.1 ยารักษาโรคจิตกลุ่มดั้งเดิม (conventional antipsychotic drugs)

Chlorpromazine, Haloperidol, Thioridazine

  • กลุ่มอาการเอ็กตราพิรามิดัล (extrapyramidal symptoms : EPS)
    • acute dystonia ลิ้นแข็ง พูดหรือ กลืนลำบาก    เกร็งกล้ามเนื้อใบหน้า ลำคอ

    • tardive dyskinesia ดูดหรือ ขมุบขมิบปากและมีลิ้นม้วนไปมาในปาก หรือเอาลิ้นดุนแก้ม ผู้ป่วยทำโดยไม่รู้ตัว หากเป็นมาระยะหนึ่งถึงแม้หยุดยา อาการจะยังไม่หายทำให้มีผลต่อการทำฟัน รวมถึงการใส่ฟัน

  • อาการฤทธิ์ต้านโคลิเนอร์จิก (anticholinergic effects) เกิด peripheral side effects ปากแห้ง คอแห้ง

 

 

 

1.2 ยารักษาโรคจิตกลุ่มใหม่

(atypical antipsychotic drugs)

Clozapine,Risperidone,Quetiapine,Aripiprazole

  • น้ำลายไหลมาก (sialorrhea)

  • ขยับปากเหมือนปากกระต่าย (rabbit syndrome)

  • ไม่มี

 

 

2. ยารักษาโรคสมาธิสั้น

  • Methylphenidate

  • Atomoxetine

  • ไม่มี

  • ไม่มี

  • ไม่มี

  • ไม่มี

 

 

3. ยารักษาโรคซึมเศร้า (Antidepressant drugs)

3.1ยารักษาโรคซึมเศร้ากลุ่มเอสอาร์ไอ  (selective serotonin reupatake inhibitors  : SSRIs)

Fluoxetine, Sertraline

  • น้ำลายแห้ง การรับรสเปลี่ยนแปลง (dysgeusia)

  • มีอาการอักเสบของเยื่อบุช่องปาก ลิ้นและต่อมน้ำลา

  • ยากลุ่ม Codeine

  • Erythromycin

  • ยากลุ่มSSRIs ลดการกำจัดยาที่ ใช้ทางทันต-กรรมทำให้ความเข้มข้นของยาเพิ่มขึ้น

 

4. ยาปรับอารมณ์ (Mood stabilizer)

 4.1 Valproate sodium

  • อาจมีภาวะเลือดหยุดช้าหรือ เลือดออก   ง่ายกว่าปกติภายหลัง การรักษาทางทันตกรรม

  • น้ำลายแห้ง ลิ้นอักเสบ

  • Erythromycin

  • ยับยั้งการทำลาย  valproate sodium ที่ตับ ทำให้ระดับยา valproate sodium ในเลือดเพิ่มสูงขึ้น

 

4.2 Carbamazepine

  • น้ำลายแห้ง ลิ้นอักเสบ

  • Erythromycin

  • Clarithromycin

  • ยับยั้งการทำลาย Carbamazepine ที่ตับทำให้ระดับยา Carbamazepine เพิ่มขึ้น

 

5. ยากันชัก

5.1 Phenytoin

  • เหงือกโต (gingival hyperplasia)
  • ไม่มี
  • ไม่มี
  • อาการเหงือก     โตพบบ่อยในช่วง 3 เดือนแรก ที่ได้รับยา และเหงือกจะโตมากในช่วง 1 ปี แรกของการ ได้รับยา

เอกสารอ้างอิง

  1. จินตนา มงคลพิทักษ์สุข. ความรู้ทางด้านเภสัชกรรม. แนวทางการจัดการทางทันตกรรมสำหรับเด็กพิเศษ. กรุงเทพฯ: โตไกล พริ้นติ้ง: 2558; 27-36
  2. วินัดดา ปิยะศิลป์ พนม เกตุมาน, บรรณาธิการ. ตำราจิตเวชเด็กและวัยรุ่น.กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ ไพรซ์: 2545;155-57.
  3. Abdollahi M, Rahimi R,Radfar M. Current opinion on drug-induced oral reactions: a     comprehensive review. J Contemp Dent Pract 2008; 9: 1-15.
  4. Barkley RA, McMurray MB, Edelbrock CS, Robbins K. Side Effects of methyphinidate in children with attention deficit hyperactivity disorder: a systemic, placebo-controlled evaluation. Pediatrics 1990; 86:184-92.
  5. Haddad PM, Sharma SG. Adverse effects of atypical antipsychotics. CNS Drugs 2007; 21: 911-36.
  6. Handen BL, Feldman H, Gosling A, Breaux AM, Mcauliffe S. Adverse side effects of methyphinidate among mentally retaraded children with ADHD. J Am Acad Child  Adolesc Psychiatry. 1991; 30:241-5.
  7. Lieberman J anticholinergic side effects. Prim Care Companion J Clin Psychiatry 2004; 6 suppl 2: 20-3.
  8. Perucca E, Meador KJ. Adverse effects of antiepileptic drugs. Acta Neurologica Scandinavica 2005;112: suppl 181: 30–5

ผู้เขียน/ผู้จัดทำ

พ.ท.หญิง นำสุข คงคาลัย
โรงพยาบาลสวนปรุง

แบบทดสอบ