การพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลจากเบ้ารากฟัน

บทความ

การพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลจากฟันเป็นกระบวนการมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลถึงความถูกต้องแม่น ยำเนื่องจากฟันของแต่ละบุคคลยังมีรูปร่างโดยเฉพาะส่วนตัวฟัน(tooth crown) แตกต่างกันซึ่งเป็นผลจากทั้งพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ทั้งพฤติกรรมการบดเคี้ยวและลักษณะอาหาร ตลอดจนการทำงานนอกหน้าที่ของฟัน เช่น ภาวะนอนกัดฟัน ล้วนแต่ทำให้รูปร่างของตัวฟันแต่ละซี่แตกต่างกันไป นอกจากนี้การบูรณะฟันจากทันตแพทย์ด้วยวิธีต่างๆ เช่น การอุดฟัน ครอบฟัน หรือการรักษารากฟัน ยิ่งทำให้ฟันมีเอกลักษณ์จำเพาะแต่ละบุคคลมากขึ้น นอกจากจะมีความจำเพาะบุคคลแล้ว ฟันยังเป็นอวัยวะที่แข็งแรงที่สุดในร่างกาย มีความคงทนสูงสามารถต้านทางการผุกร่อน ทนต่อการย่อยสลายของจุลชีพและทนความร้อนได้สูงและถูกปกป้องไว้จากโครงสร้างใบหน้าและช่องปาก จึงมักพบอยู่ในสภาะที่สมบูรณ์บนร่างผู้เสียชีวิตในขณะที่อวัยวะอื่นอาจเสียหายจนไม่สามารถใช้ในการพิสูจน์เอกลั กษณ์บุคคลได้บ่อยครั้ง จากคุณสมบัติเหล่านี้ส่งผลให้ฟันเหมาะสำหรับนำมาใช้ในการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล โดยเฉพาะในวินาศภัยขนาดใหญ่ที่มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก เช่น เหตุธรณีพิบัติและคลื่นยักษ์สึนามิ(tsunami) ในมหาสมุทรอินเดียเมื่อปี ค.ศ 2004 (1,2) ที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยด้วย เนื่องจากทำได้ง่ายและมีค่าใช้จ่ายไม่มากนักจึงเหมาะสมมากกว่าการพิสูจน์เอกลักษณ์ด้วยวิธีอื่น เช่นลายพิมพ์นิ้วมือ หรือลายพิมพ์สารพันธุกรรมซึ่งมักเสียหายจากวินาศภัยจนนำมาตรวจพิสูจน์ได้ยาก หลักการในการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลจากเอกลักษณ์ฟันอาศัยการเปรียบเทียบระหว่างข้อมูลก่อนเสียชีวิต(antem ortem data)และข้อมูลหลังเสียชีวิต(postmortem data) โดยทั่วไปการรวบรวมข้อมูลหลังเสียชีวิตเกี่ยวกับฟันทำได้ง่ายเพราะฟันมักคงอยู่ในร่างผู้เสียชีวิต และข้อมูลหลังเสียชีวิตจากฟันยังนำไปสู่การประเมินข้อมูลพื้นฐานทางชีววิทยาของร่างผู้เสียชีวิตบางประการ เช่น เพศ หรือ อายุ ซึ่งช่วยจำกัดวงในการรวบรวมข้อมูลก่อนเสียชีวิตให้แคบมากขึ้น ตำรวจจึงสามารถรวบรวมข้อมูลก่อนเสียชีวิตได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้นด้วย (3) อย่างไรก็ตามในหลายกรณีที่ร่างผู้เสียชีวิตได้รับความเสียหายมากจนตัวฟันแตกหักและสูญหายไป เช่นได้รับการกระแทกอย่างรุนแรงจนฟันแตก หรือถูกเพลิงไหม้เป็นเวลานานทำให้โครงสร้างฟันเปราะร่วมกับความดันในโพรงประสาทฟันเพิ่มจนทำให้ตัวฟันแต กออกจากรากฟัน (4,5) เป็นต้น กรณีเหล่านี้ทำให้พบเพียงรากฟัน(tooth root)

หักค้างติดอยู่ภายในกระดูกขากรรไกรของร่างผู้เสียชีวิต ส่วนตัวฟันที่แตกมักสูญหายไม่พบในสถานที่เกิดเหตุ จึงมีการศึกษาเพื่อนำถึงรากฟันมาใช้ในการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล โดยวิธีหนึ่งที่นิยมใช้คือการเปรียบเทียบจากภาพรังสีของรากฟัน ซึ่งวิธีนี้ไม่จำเป็นต้องทำลายกระดูกขากรรไกรเพื่อนำรากฟันออกมาใช้เปรียบเทียบ จึงสามารถทำซ้ำได้หลายครั้งเพื่อปรับให้ภาพรังสีของรากฟันหลังเสียชีวิตอยู่ในแนวเดียวกับภาพรังสีที่เห็นรากฟันก่ อนเสียชีวิตที่ตำรวจรวบรวมมาได้ ช่วยให้การพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลทำได้ง่ายและมีความแม่นยำมากขึ้น ผลการศึกษาการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลจากการเปรียบเทียบภาพรังสีของรากฟันพบว่ามีความแม่นยำสูง การเปรียบเทียบภาพรังสีของรากฟันเพื่อการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลโดยอาศัยระบบคอมพิวเตอร์(computer-< aided identification) มีความแม่นยำสูงถึงร้อยละ 85 ซึ่งใกล้เคียงมากกับการเปรียบเทียบภาพรังสีของรากฟันโดยนิติทันตแพทย์(forensic odontologist) ที่มีความแม่นยำประมาณร้อยละ 86 (5) อย่างไรก็ดี ในอีกหลายกรณีที่ฟันทั้งซี่หลุดหายไปจากกระดูกขากรรไกรหลังเสียชีวิต(postmortem tooth loss) เช่น ถูกกระแทกอย่างรุนแรงบริเวณใบหน้า หรือ เนื้อเยื่อเน่าเปื่อยจนเหงือกและเอ็นยึดปริทันต์(periodontal ligament) เสื่อมสลายจนไม่สามารถยึดฟันไว้กับกระดูกขากรรไกรได้ (6) เป็นต้น ทำให้ร่างผู้เสียชีวิตพบเหลือเพียงเบ้าฟันเปล่า(empty tooth socket) ของกระดูกขากรรไกร ในกรณีเหล่านี้ นิติทันตแพทย์ต้องเปรียบเทียบลักษณะภาพรังสีของกระดูกเบ้าฟันที่รวบรวมได้จากร่างผู้เสียชีวิตกับภาพรังสีของร ากฟันก่อนเสียชีวิต ถึงแม้การเปรียบเทียบภาพรังสีด้วยวิธีนี้มีประโยชน์ในการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล เนื่องจากสัณฐาน(morphology) ของเบ้าฟันสอดคล้องกับสัณฐานของรากฟัน โดยขอบเขตของเบ้าฟันในภาพรังสีแสดงลักษณะเป็นแนวทึบรังสีต่อเนื่องของผิวกระดูกรองรับรากฟัน(lamina dura) ล้อมรอบรากฟัน ช่วยให้นิติทันตแพทย์เปรียบเทียบสัณฐานของเบ้าฟันกับรากฟันในภาพรังสีก่อนเสียชีวิตได้ แต่เนื่องจากรากฟันแสดงลักษณะทึบรังสีในภาพรังสี(radiopaque) จึงเห็นเป็นสีขาว แต่เบ้ารากฟันแสดงลักษณะโปร่งรังสีในภาพรังสี (radiolucency) จึงเห็นเป็นสีดำ การเปรียบเทียบลักษณะรากฟันสีขาวกับเบ้าฟันสีดำในภาพรังสีจึงต้องอาศัยประสบการณ์ในการพิสูจน์และอาจเกิ ดข้อผิดพลาดได้ง่าย ทำให้มีผู้ศึกษาเพื่อพัฒนาการเปรียบเทียบด้วยวิธีนี้ให้ง่ายและมีความแม่นยำมากขึ้น ในปีค.ศ.1992 BC Smith (7) เสนอการใช้ไวนิลโพลีไซลอกเซน(vinyl polysiloxane) ผสมกับแบเรียมซัลเฟต(barium sulfate) ซึ่งเป็นวัสดุทึบรังสี เติมลงไปในเบ้าฟันก่อนนำกระดูกขากรรไกรไปถ่ายภาพรังสี

ทำให้เบ้าฟันในภาพรังสีหลังเสียชีวิตมีลักษณะทึบรังสีช่วยให้เปรียบเทียบกับรากฟันในภาพรังสีก่อนเสียชีวิตได้ง่าย ขึ้น นอกจากนี้ไวนิลโพลีไซลอกเซนยังเป็นวัสดุพิมพ์ปากกลุ่มซิลิโคนชนิดเติม (addition silicone) จึงสามารถนำออกจากเบ้าฟันได้ง่ายหลังจากถ่ายภาพรังสีโดยไม่ทำลายเบ้าฟันหรือกระดูกขากรรไกร ต่อมาในปี ค.ศ.1996 CA Law และ CM Bowers (8) ได้ทดสอบวิธีที่เสนอโดย BC Smith และยืนยันว่าวิธีดังกล่าวช่วยให้การพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลโดยเฉพาะในกรณีที่เหลือเพียงโครงกระดูกง่ายขึ้นและยั งคงแม่นยำอยู่ จากวิธีการเพิ่มความทึบรังสีให้เบ้าฟันที่เสนอโดย BC Smith ทำให้มีการศึกษาพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น เช่น การเสนอให้ใช้ใช้วัสดุพิมพ์ปากอัลจิเนต(alginate) (9) ซึ่งเป็นวัสดุพิมพ์ปากที่ใช้อย่างแพร่หลายในคลินิกทันตกรรม ผสมกับแบเรียมซัลเฟต แต่ผลการศึกษากลับพบว่า อัลจิเนตที่ได้มีการไหลแผ่ที่ไม่ดีจึงไม่สามารถไหลไปยังส่วนปลายของเบ้าฟันได้ จึงอาจทำให้การเปรียบเทียบมีความคลาดเคลื่อนได้ง่ายแทน นอกจากนี้ อัลจิเนตยังฉีกขาดได้ง่ายจึงอาจกำจัดออกหลังจากถ่ายภาพรังสีไม่หมดตกค้างภายในเบ้าฟันได้ ในขณะที่วัสดุพิมพ์ปากซิลิโคนชนิดควบแน่นแบบเนื้อข้น (heavy body condensation silicone) ร่วมกับการใช้แกนปลายทู่(blunt tip probe application) ในการนำซิลิโคนเข้าสู่เบ้าฟัน พบว่ามีการไหลแผ่ที่ดี สามารถลอกเลียนลักษณะรากฟันได้ดีและมีวิธีการใช้งานไม่ยุ่งยากไม่ต้องการความชำนาญพิเศษ รวมถึงราคาไม่แพง (10) การศึกษาที่ผ่านมาช่วยสนับสนุนการใช้เบ้าฟันในภาพรังสีหลังเสียชีวิตมาเปรียบเทียบกับรูปร่างรากฟันในภาพรังสี ก่อนเสียชีวิต (5,11) โดยเฉพาะในกรณีที่รากฟันมีความผันแปรทางกายวิภาคศาสตร์ที่ทำให้รูปร่างรากฟันผิดไปจากปกติ เช่น รากฟันโค้ง(dilaceration) เป็นต้น และกรณีที่มีพยาธิสภาพบริเวณรากฟันที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระดูกเบ้าฟัน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ช่วยเสริมให้การพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลมีความแม่นยำมากขึ้น แต่การศึกษาเหล่านี้ยังมีจำนวนไม่มากนัก จึงควรมีการศึกษาเพื่อสร้างมาตรฐานในการใช้เบ้าฟันสำหรับการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลต่อไป


เอกสารอ้างอิง

  1. Petju M, Suteerayongprasert A, Thongpud R, Hassiri K. Importance of dental records for victim identification following the Indian Ocean tsunami. Public Health 2007;121:251–7.
  2. Schuller-Gotzburg P, Suchanek J. Forensic odontologists successfully identify tsunami victims in Phuket, Thailand. Forensic Sci Int 2007;171:204–7.
  3. D.R. Senn, R.A. Weems, Manual of forensic odontology, fifth ed., CRCPress, Boca Raton, 2013.
  4. Bonavilla JD, Bush MA, Bush PJ, Pantera EA. Identification of incinerated root canal filling materials after exposure to high heat incineration. J Forensic Sci 2008;53(2):412-8.
  5. Van de Meer DT, Brumit PC, Schrader BA, Dove SB, Senn DR. Root morphology and anatomical patterns in forensic dental identification: a comparison of computer-aided identification with traditional forensic dental. J. Forensic Sci 2010;55:1499-503.
  6. Duric M, Rakocevic Z, Tuller H. Factors affecting postmortem tooth loss. J Forensic Sci 2014;49; 1313-8.
  7. Smith BC. Reconstruction of root morphology in skeletonized remains with post-mortem dental loss. J Forensic Sci 1992;37:176-84.
  8. C.A. Law CA, C.M. Bowers CM. Radiographic reconstruction of root morphology in skeletonized remains: a case study. J Forensic Sci 1996;41:514-7.
  9. Brogdon BG. Forensic radiology, first ed., CRC Press, Boca Raton, 1998.
  10. Capeletti LR, Franco A, Reges RV, Silva RF. Technical note: Intra-alveolar morphology assessed in empty dental sockets of teeth missing post-mortem. Forensic Sci Int 2017;277:161–5.
  11. Silva RF, Prado MM, Botelho TL, Reges RV, Marinho DEA. Anatomical variations in the permanent mandibular canine: forensic importance. RSBO 2012;9:468-73.

ผู้เขียน/ผู้จัดทำ

ผศ.ทพ.ทวีพงศ์ อารยะพิศิษฐ
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

แบบทดสอบ