ยาต้านจุลชีพที่ใช้ในการป้องกันการติดเชื้อภายหลังการทำศัลยกรรมรากเทียม

บทความ

ยาต้านจุลชีพที่ใช้ในการป้องกันการติดเชื้อภายหลังการทำศัลยกรรมรากเทียม

ยาต้านจุลชีพที่ใช้บ่อยในการป้องกันการติดเชื้อในงานทันตกรรม ได้แก่ ยาในกลุ่ม penicillin และcephalosporin ซึ่งเป็นยาต้านจุลชีพที่ออกฤทธิ์ในการฆ่าแบคทีเรีย และมีโครงสร้างทางเคมี และกลไกการออกฤทธิ์ที่เหมือนกัน โดยไปยับยั้งการสร้างผนังเซลล์ของแบคทีเรีย

Resnik และ Misch ได้เสนอในปี 2008 ถึงยาต้านจุลชีพในการทำศัลยกรรมรากเทียมและปลูกกระดูก  โดยแนะนำให้ใช้ amoxicillinหรือ cephalexin (ในกรณีที่ผู้ป่วยแพ้ penicillinแต่ไม่รุนแรงถึง  anaphylaxis  โดยมีรายละเอียดในตารางที่ 1(1)

ประเภท และ ลักษณะของผู้ป่วย

ลักษณะหรือชนิดการผ่าตัด

ยาต้านจุลชีพที่ควรให้

น้ำยาบ้วนปาก

ASA 1 หรือ ASA 2

-ถอนฟันที่ไม่ติดเชื้ออย่างง่าย

-ฝังรากเทียม 1 ซี่

-ผ่าตัดขั้นที่ 2 ของงานศัลยกรรมรากเทียม

-การผ่าตัดที่มีการเปิดเนื้อเยื่ออ่อนเพียงเล็กน้อย

ไม่จำเป็นต้องให้

ใช้น้ำยาบ้วนปาก chlorhexidine

วันละ 2 ครั้งติดต่อกัน 2 สัปดาห์

ASA 1 หรือ ASA 2

-ถอนฟันหลายซี่

ถอนฟันที่มีความยุ่งยากซับซ้อน

-ศัลยกรรมรากเทียมหลายซี่แต่มีการเปิดแผลผ่าตัดไม่ใหญ่มาก

-การปลูกกระดูกในแผลถอนฟัน      -การใส่รากเทียมทันทีภายหลังการ  ถอน ฟัน (ฟันไม่มีพยาธิสภาพ)

amoxicillin1 กรัม ให้ 1 ชั่วโมง

ก่อนทำศัลยกรรมและให้ 500 มิลลิกรัม 6 ชั่วโมงภายหลังจากให้ยาครั้งแรก

ใช้น้ำยาบ้วนปาก chlorhexidine

วันละ 2 ครั้งติดต่อกัน 2 สัปดาห์

ASA 1 หรือ ASA 2

-การปลูกกระดูกด้วย allograft, xengraft alloplast ร่วมกับการใช้แผ่นปิด (membrane)

-การทำศัลยกรรมรากเทียมหลายซี่และมีการเปิดแผลผ่าตัดค่อนข้างกว้าง

amoxicillin1 กรัม 1 ชั่วโมงก่อนการทำศัลยกรรม และให้ 500 มิลลิกรัมวันละ 3 ครั้งต่อเนื่องไปอีก 3 วัน

ใช้น้ำยาบ้วนปาก chlorhexidine

วันละ 2 ครั้งติดต่อกัน 2 สัปดาห์

มากกว่า ASA 2 หรือ

-ผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ

-โรคปริทันต์ที่ยังไม่รับการควบคุม

-การใส่รากเทียมทั้งขากรรไกรร่วมกับการเปิดแผลผ่าตัดอย่างมาก

-เสริมกระดูกในโพรงอากาศแม็กซิลล่าร่วมกับการใส่รากเทียม

-การปลูกกระดูกโดยใช้กระดูกตนเอง

-การผ่าตัดที่ใช้เวลานาน

-การผ่าตัดที่ทำโดยศัลยแพทย์ที่มีประสบการณ์น้อย

amoxicillin 1 กรัม 1 ชั่วโมงก่อนทำศัลยกรรมและ 500 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้งต่อเนื่องไปอีก 5 วัน

ใช้น้ำยาบ้วนปาก chlorhexidine

วันละ 2 ครั้งติดต่อกัน 2 สัปดาห์

ASA 1 หรือ ASA 2

การปลูกกระดูกในโพรงอากาศแม็กซิลล่าทุกชนิด

Amoxicillin/ clavuante 875 มิลลิกรัม /125 มิลลิกรัม 2 เม็ด เริ่มต้น 1 วันก่อนทำศัลยกรรม และให้ 1 กรัม วันละ 2 ครั้งต่อเนื่องไปอีก 5 วัน

ใช้น้ำยาบ้วนปาก chlorhexidine

วันละ 2 ครั้งติดต่อกัน 2 สัปดาห์

ตารางที่ 12.1 แสดงยาต้านจุลชีพที่ใช้ในการทำศัลยกรรมรากเทียม(1)

Resnik และ misch ในปี 2008 ได้เสนอว่ายาต้านจุลชีพที่ควรใช้ในกรณีที่ผ่าตัดบริเวณโพรงอากาศแม็กซิลล่า ได้แก่ amoxicillin/ clavuante หรือ ceftin ในกรณีที่ผู้ป่วยมีประวัติแพ้ penicillin แต่ไม่ใช่ชนิด anaphylaxis หรือ levaquin (ในกรณีผู้ป่วยแพ้ penicillin ชนิด anaphylaxis หรือมีประวัติว่าได้รับยา amoxicillin/ clavuante ในเวลาไม่นาน)(1)

เนื่องจากผลตามของการเกิดการติดเชื้อของงานศัลยกรรมรากเทียมค่อนข้างสูงและอาจทำให้รากเทียมเกิดปัญหาในการยึดติดกับกระดูก ศัลยแพทย์ควรจะพิจารณาอย่างรอบคอบถึงผลที่ได้รับ และความเสี่ยงจากการใช้ยาต้านจุลชีพที่นานมากขึ้น(1)

ซึ่งเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาว่ามีการติดเชื้อ  ได้แก่มีหนองไหล มีรูเปิดระบายหนอง หรือมีอาการ       ปวด บวมแดงร้อน (หรือมีไข้) ซึ่งอาการเหล่านี้มักเกิดในช่วงแรก (ไม่เกิน 1 สัปดาห์) และอาจจะทำให้รากเทียมมี กระดูกล้อมรอบละลาย หรือไม่ยึดติดกับกระดูกในช่วงหลังได้ (เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ 4 สัปดาห์แรกจนถึงขั้นตอนที่ต่อ abutmentเข้ากับรากเทียม)(1-2)

การติดเชื้อภายหลังการทำศัลยกรรมรากเทียม อาจจะส่งผลให้เกิดกระดูกของรากเทียมละลาย การปลูกกระดูก  ล้มเหลว  และจะมีผลต่ออัตราประสบความสำเร็จของรากเทียมด้วย(2)

จากข้อมูลที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่ามีข้อมูลที่ไม่เพียงพอที่จะสรุปได้ว่าควรจะให้หรือไม่ให้ยาต้านจุลชีพ ในการป้องกันการติดเชื้อในงานศัลยกรรมรากเทียมหรือถ้าให้ควรจะให้ในปริมาณและช่วงเวลาเท่าใด  แต่มีข้อสรุปเบื้องต้น ดังนี้

กรณีที่อาจจะไม่จำเป็นต้องใช้ยาต้านจุลชีพเพื่อป้องกันการติดเชื้อ  ถ้าเป็นการทำศัลยกรรมรากเทียมอย่างง่าย ใช้เวลาในการผ่าตัดไม่นาน ผู้ป่วยมีสุขภาพทั่วไปแข็งแรง ทันตแพทย์ผู้ทำการฝังรากเทียมมีความชำนาญสูง  ผู้ป่วยมีสุขภาพทั่วไปแข็งแรง และไม่มีโรคหรือปัจจัยที่อาจมีผลต่อการยึดติดของรากเทียม อาทิเช่น เบาหวาน เคยได้รับรังสีบำบัด  สูบบุหรี่ หรือการใช้ยาสเตียรอยด์ เป็นต้น(2-3)

กรณีที่ควรจะให้ยาต้านจุลชีพเพื่อป้องกันการติดเชื้อภายหลังการใส่รากเทียม  ได้แก่กรณีที่ใส่รากเทียมหลายๆซี่ มีการปลูกกระดูกร่วมด้วย  ผู้ป่วยมีคุณภาพของกระดูกที่ไม่ดี (ในผู้ป่วยที่สูบบุหรี่หรือเป็นโรคกระดูกพรุน)  ผู้ป่วยที่มีปัจจัยทางระบบที่มีผลต่อการหายของแผล หรือ การยึดติดของรากเทียม (ใช้ยากดภูมิคุ้มกัน หรือ สเตียรอยด์  โรคเบาหวาน  ได้รับการฉายรังสีหรือได้รับยาเคมีบำบัด) ศัลยแพทย์มีประสบการณ์หรือความชำนาญที่ไม่มากนัก  มีปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการทำศัลยกรรม เช่น เกิดการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียหรือน้ำลายระหว่างการทำศัลยกรรม หรือเกิดกระดูกตายบางส่วน จากใช้น้ำเกลือฉีดระบายความร้อนของหัวเจาะกระดูกไม่เพียงพอ หรือหัวเจาะกระดูกที่มีความแหลมคมไม่เพียงพอจนเกิดความร้อนสูงขึ้น(2, 4-6)

โดยยาต้านจุลชีพที่ควรจะให้ได้แก่  amoxicillin 1 -2 กรัมก่อนทำศัลยกรรม 1 ชั่วโมง ในกรณีที่ทำศัลยกรรมรากเทียมหลายซี่ หรือร่วมกับการปลูกกระดูก  และให้ amoxicillin/clavulanate 1 กรัม ก่อน ในกรณีที่ทำการปลูกกระดูกในโพรงอากาศแม็กซิลล่า   ทำศัลยกรรม 1 ชั่วโมง  และในกรณีที่ผู้ป่วยแพ้ยาในกลุ่ม penicillin ควรจะพิจารณาให้ clindamycin 600 มิลลิกรัม ก่อนทำศัลยกรรม 1 ชั่วโมง  สำหรับช่วงเวลาที่ให้ภายหลังการทำศัลยกรรมก็แตกต่างกันไป ตั้งแต่ 1 ครั้ง และภายหลังการทำศัลยกรรม 6 ชั่วโมง หรือ 3 -5 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของการผ่าตัด และสุขภาพของผู้ป่วย เช่นถ้าใส่รากเทียม หลายซี่ร่วมกับการปลูกกระดูก และผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับการหายของแผล ศัลยแพทย์ควรจะพิจารณาให้ยาต้านจุลชีพนานถึง 5 วันก็ได้(2) แต่อย่างไรก็ตามศัลยแพทย์ควรจะพิจารณาให้ยาต้านจุลชีพนานขึ้น ถ้าตรวจพบว่ามีการอักเสบ หรือมีลักษณะเบื้องต้นของการติดเชื้อ


เอกสารอ้างอิง

  1. Resnik RR, Misch C. Prophylactic Antibiotic Regimens in Oral Implantology: Rationale and Protocol. Implant Dent 2008:17:142-50.
  2. Alberto M, Passi L, Moretti R. Retrospective Analysis of 736 Implants Inserted Without Antibiotic Therapy. J Oral Maxillofac Surg  2007:65:2321.23.
  3. Gynther GW, Kondell PA, Moberg LE, Heimdahl A. Dental implant installation without antibiotic prophylaxis. Oral Surg Oral Med Oral Pathol Oral Radiol Endod 1998;85:509-11.
  4. Pye AD, Lockhart DEA, Dawson MP, Murray CA, Smith AJ. A review of dental implants and infection. J Hosp Infection 2009:72;104-10.
  5. Laskin DM, Dent CD, Morris HF, Ochi S, Olson JW. The influence of preoperative antibiotics on success of endosseous implant at 36 months. Ann Periodont 2000;5:166-74
  6. Miles BA, Potter JK, Ellis E 3rd. The efficacy of postoperative antibiotic regimens in the open treatment of mandibular fractures: A prospective randomized trial. J Oral Maxillofac Surg 2006;64:576-82.

แบบทดสอบ