ภาวะกระดูกขากรรไกรตายเนื่องจากยา

บทความ

ภาวะกระดูกขากรรไกรตายเนื่องจากยา (Medication-Related Osteonecrosis of the Jaw; MRONJ)

เดิมภาวะนี้ใช้ชื่อว่า bisphosphonate-related osteonecrosis of the jawหรือ BRONJ แต่เพิ่งได้รับชื่อใหม่ว่า MRONJ ตามคำแนะนำของสมาคมศัลยแพทย์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียลแห่งประเทศสหรัสอเมริกา (American Association of Oral and Maxillofacial Surgeons) เมื่อปีค.ศ. 2014 เนื่องจากมีรายงานผู้ป่วยหลายรายที่พบภาวะกระดูกตายจากยา antiresoptive ตัวอื่นที่ไม่ใช่กลุ่ม bisphosphonate

MRONJ case definition

ผู้ป่วยจะได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะ MRONJ เมื่อมีองค์ประกอบต่อไปนี้ ครบ 3 ประการ คือ 1. มีประวัติหรือกำลัง ได้รับการรักษาด้วยยากลุ่ม antiresorptive หรือ antiangiogenic 2. มี กระดูกโผล่ (exposed bone) หรือสามารถ probed ได้กระดูกผ่านทาง intraoral หรือextraoral fistula ในบริเวณช่องปาก ขากรรไกร และใบหน้า นานกว่า 8 สัปดาห์ 3. ไม่มีประวัติการได้รับการฉายรังสีรักษาหรือมีการแพร่กระจาย (metastasis) ของมะเร็งในบริเวณกระดูกขากรรไกร

Pathophysiology

มีหลายทฤษฎีที่พยายามอธิบายภาวะการเกิดกระดูกตายจากการได้รับยาโดยเฉพาะที่บริเวณกระดูกขากรรไกร ได้แก่ ยามีผลทำให้เกิดการยับยั้ง osteoclastic bone resorption รบกวนขบวนการ bone remodeling ยับยั้งขบวนการ angiogenesis การมี microtrauma จากการบดเคี้ยว หรือการกดทับของฟันปลอม การกด innate or acquired immunity การขาดวิตามินดี พิษของยาต่อเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปาก และการอักเสบหรือติดเชื้อในช่องปาก

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด MRONJ ได้แก่

  1.  ความแรง (potency) ของยา ยาชนิดรับประทานจะถูกดูดซึมในกระเพาะอาหารน้อย และสะสมในกระดูก ได้ช้ากว่ายาในรูปแบบฉีด ผู้ป่วยที่ได้รับยารูปแบบฉีดจึงมีความเสี่ยงในการเกิด MRONJ ได้มากกว่า
  2.  ระยะเวลาที่ได้รับยา ( duration ) โดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาชนิดฉีดต่อเนื่องกันนานกว่า 10 เดือน และผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนที่ได้รับยาชนิดรับประทานต่อเนื่องกันนานกว่า 5 ปี มีความเสี่ยงที่จะเกิด MRONJ
  3.  หัตถการที่มีความเสี่ยง โดยเฉพาะการถอนฟัน หรือการผ่าตัดในช่องปาก ( dentoalveolar surgery )
  4.  ตำแหน่งที่เสี่ยงต่อการเกิด exposed bone เช่น torus palatinus, torus mandibularis, exostosis
  5.  สุขภาพอนามัยช่องปากที่ไม่ดี
  6.  โรคปริทันต์
  7.  การใช้สเตียรอยด์ ร่วมกับยากลุ่ม Antiresoptive หรือ antiangiogenic
  8.  อื่นๆ เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน โลหิตจาง การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์

Management Strategies for patients treated with antiresoptive or antiangiogenics

การป้องกันการเกิด MRONJ ก่อนที่แพทย์ จะพิจารณาให้ยากลุ่ม antiresoptive หรือantiangiogenics แก่ผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบรับประทานหรือแบบฉีดก็ตาม ควรที่จะส่งต่อผู้ป่วยเพื่อให้ทันตแพทย์ทำการเตรียมช่องปากก่อนที่จะรับยา โดยให้ความสำคัญในเรื่องของการควบคุมดูแลอนามัยช่องปากของผู้ป่วยเอง และให้การรักษาทางทันตกรรมโดยคำนึงถึงการป้องกันการรักษาทางศัลยกรรมช่องปากในอนาคต สำหรับการรักษาทางทันตกรรมในผู้ป่วยที่ได้รับยา antiresoptive หรือ antiangiogenics ชนิดฉีด ควรหลีกเลี่ยงงานศัลยกรรมช่องปากทุกประเภท เนื่องจากมีโอกาสสูงที่จะเกิด MRONJ

ข้อพิจารณาในการรักษาทางทันตกรรมในผู้ป่วยที่ได้รับยา antiresoptive หรือ antiangiogenic

ก. ADA Council on Scientific Affairs ในปี 2011 แนะนำว่ากรณีที่ได้ lower cumulative doses ของ bisphosphanates (ขนาดยาต่ำๆ และ <2 ปี) หรือได้ยา denosumab อาจไม่ต้องหยุดยาในการทำ invasive dental procedure

ข. International ONJ Task Force แนะนำให้หยุดยา (drug holiday) ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ผู้ที่มี greater cumulative exposure ของ bisphosphanates (>4 ปี) และกลุ่มที่มี comorbid risk เช่น rheumatoid arthritis, prior or current glucocorticoid exposure, เบาหวาน หรือ สูบบุหรี่ จนกว่าแผลถอนฟันจะหาย


เอกสารอ้างอิง

American Association of Oral and Maxillofacial Surgeons Position Paper on Medication-Related Osteonecrosis of the Jaw—2014 Update Ruggiero, Salvatore L. et al. Journal of Oral and Maxillofacial Surgery , Volume 72 , Issue 10 , 1938 – 1956

แบบทดสอบ