การเงินการคลังสุขภาพ

บทความ

การเงินการคลังสุขภาพ

เป็นการศึกษาเกี่ยวกับ

  1. ) การหารายได้ (การภาษีอากรและงบประมาณ)
  2. ) การใช้จ่าย (การก่อหนี้)
  3. ) กิจกรรม/บริการที่ควรจัดให้มี
  4. ) บทบาท/ความรับผิดชอบของแต่ละภาคส่วนในแต่ละระดับ (เช่น ประเทศ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน ครัวเรือน และบุคคล)
  5. ) ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อประชาชน สังคม และประเทศ

ข้อมูลการเงินการคลังใช้ในการวิเคราะห์

  1. ) ความไม่เป็นธรรม (inequity) ซึ่งมักเป็นปัญหาหลักในประเทศกาลังพัฒนา โดยพิจารณาจากสัดส่วนเงินที่บุคคลและครอบครัวจ่ายเทียบกับค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพโดยรวมของประเทศ (% total health expenditure) หากมีค่ามากแสดงว่าประชาชนรับผิดชอบตัวเอง และให้ภาพได้ชัดเจนมากขึ้นเมื่อคานวณสัดส่วนแยกตามระดับรายได้ของบุคคลหรือครัวเรือน และ
  2. ) บทบาทรับผิดชอบของรัฐบาลในด้านสังคม (social responsibility) พิจารณาจากสัดส่วนงบประมาณด้านสุขภาพเทียบกับงบประมาณรายจ่ายทั้งหมด (% total budget) หรือเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (% GDP) โดยทั่วไปประเทศกาลังพัฒนามักมีสัดส่วนงบประมาณในด้านสุขภาพน้อยกว่างบประมาณป้องกันประเทศ และน้อยกว่าประเทศพัฒนา

การเงินการคลังสุขภาพรวมทั้งสุขภาพช่องปาก

มี 3 องค์ประกอบคือ กลไกสนับสนุนทางการเงิน การเฉลี่ยความเสี่ยงทางการเงิน และการซื้อบริการ 1

  1. ) กลไกสนับสนุนทางการเงินของระบบสุขภาพไทยมี 5 แหล่งดังนี้
    1. ภาษีทั่วไป (general tax) เป็นแหล่งเงินทุนหลักของงบประมาณที่ส่งผ่านสานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า) และกระทรวงการคลัง (ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ) รวมทั้งงบประมาณที่ส่งมายังกระทรวงสาธารณสุขเป็นการเฉพาะ
    2. บังคับโดยกฎหมายในรูปแบบการทาประกัน จ่ายเงินสมทบ หรือภาษีเฉพาะ ได้แก่ กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย (พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ 2535, 2536, 2540, 2550, 2551) กองทุนเงินทดแทน (พระราชบัญญัติเงินทดแทน 2537) กองทุนประกันสังคม (พระราชบัญญัติประกันสังคม 2533, 2542 และ 2558) และกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ 2544)
    3. ประกันสุขภาพแบบสมัครใจ (voluntary insurance) อาจเป็นประกันภาครัฐหรือเอกชน ในปัจจุบัน ประเทศไทยไม่มีการประกันสุขภาพภาครัฐแบบสมัครใจแล้ว
    4. การบริจาค (charity donation) จากต่างประเทศหรือในประเทศ อาจอยู่ในรูปเงิน ที่ดิน หรือสิ่งของเพื่อจัดบริการแก่ประชาชนหรือบริจาคเป็นบริการโดยตรง เช่น โรงพยาบาลเอกชนจัดหน่วยบริการเคลื่อนที่โดยไม่คิดมูลค่า การบริจาคอาจมาจากภาคเอกชน มูลนิธิ หรือประชาชน การที่ประชาชนยินดีบริจาคสะท้อนถึงการยอมรับจากชุมชนได้ในระดับหนึ่ง อาจเพราะสถานบริการให้บริการมีคุณภาพ หรือสามารถเป็นที่พึ่งพาได้ในด้านสุขภาพ
    5. บุคคลและครอบครัว (individual and family) บุคคลและครอบครัวเป็นแหล่งการเงินแหล่งใหญ่ของระบบบริการ อาจเพราะไม่มีหลักประกันสุขภาพ หรือมีแต่ยอมเสียค่าบริการเอง (out of pocket) หรือร่วมจ่ายค่าบริการบางส่วน (copayment) หรือเป็นเพราะสินค้า/บริการนั้นไม่อยู่ในสิทธิประโยชน์ รวมถึงค่ายาที่ซื้อกินเองและค่าวัสดุอุปกรณ์สุขภาพในการดูแลตัวเองเช่น แปรงและยาสีฟัน
  2. การเฉลี่ยความเสี่ยงทางการเงิน (risk pooling) มีหลักการคือ จ่ายก่อนเจ็บป่วย อาจผ่านระบบภาษีหรือมีกฎหมายบังคับให้ทาประกันเพื่อป้องกันการเลือกที่ไม่เป็นธรรม (adverse selection) หรือเฉลี่ยการจ่ายเงินตามความจาเป็นด้านสุขภาพโดยร่วมจ่ายบางส่วนเมื่อใช้บริการ (Co-payment or Cost-sharing)
  3. การซื้อบริการ (purchasing) มี 3 รูปแบบคือ รัฐบาลจัดสรรงบประมาณให้สถานพยาบาลในสังกัดจัดบริการ ตั้งองค์กรหรือกองทุนขึ้นมาเพื่อทาหน้าที่ซื้อบริการ (purchaser-provider split) และบุคคลที่ใช้บริการจ่ายค่าบริการเอง
  4. เพื่อความยั่งยืนของระบบสุขภาพภาครัฐ ประเทศไทยใช้หลักการ การคลังรวมหมู่ (collective financing) คือ ให้ความสาคัญกับการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกัน/ควบคุมโรค และการจัดการปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ การคลังรวมหมู่มีเป้าหมาย 2 ประการคือ
    1. ลดสัดส่วนรายจ่ายที่ประชาชนต้องจ่ายค่าบริการเอง
    2. ลดจานวนครัวเรือนที่ประสบปัญหาเศรษฐกิจจากค่าบริการ

    โดยรัฐบาลสร้างหลักประกันหรือสวัสดิการด้านสุขภาพเพื่อคุ้มครองประชาขนโดยระดมเงินจากแหล่งต่างๆ และจัดสรรเงินไปยังบริการประเภทต่างๆ อย่างเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพเพื่อการบรรลุเป้าหมายของระบบสุขภาพ บทบาทภาครัฐและเอกชนในการจัดบริการและการคลังสุขภาพแสดงดังภาพ 1

ภาพ 1 บทบาทภาครัฐและเอกชนในการจัดบริการและการคลังสุขภาพ

1 WHO. Where are we now? In The world health report: Health systems financing: the path to universal coverage. 2010.


ผู้เขียน/ผู้จัดทำ

ดร.เพ็ญแข ลาภยิ่ง

แบบทดสอบ