การเปิดคลินิกทันตกรรมเอกชน

บทความ

วิชาจริยธรรมและวิชาชีพ: การเปิดคลินิกทันตกรรมเอกชน

ผู้ต้องการเปิดคลินิกทันตกรรมเอกชนไม่จำเป็นต้องเป็นทันตแพทย์ ในเขตกรุงเทพมหานครยื่นขอรับอนุญาตประกอบกิจการได้ที่ศูนย์บริการธุรกิจสุขภาพ สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข  สำหรับคลินิกในจังหวัดอื่นๆ ยื่นที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

รูปแบบคลินิกทันตกรรมซึ่งเป็นสถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยค้างคืน อาจเป็น 1 ใน 3 แบบดังนี้

  1. คลินิกทันตกรรม ดำเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม
  2. คลินิกทันตกรรมเฉพาะทาง ดำเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมที่ได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติในสาขานั้นจากทันตแพทยสภา
  3. สหคลินิก เป็นการบริการทันตกรรมตามข้อ 1) หรือ 2)  ร่วมกับการบริการสาขาอื่นซึ่งดำเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพหรือประกอบโรคศิลปะสาขานั้น

แต่ละรูปแบบอาจมีการประกอบโรคศิลปะอื่น (เช่น การแพทย์ทางเลือก) ร่วมด้วย

ชื่อคลินิกทันตกรรม

ต้องมีคำบ่งบอกการบริการทันตกรรมอยู่หน้าหรือท้ายชื่อ เช่น “คลินิกทันตกรรม.....” หรือ “.....คลินิกทันตกรรม” และไม่มีคำเชิญชวนโอ้อวดให้เข้าใจผิดในการประกอบวิชาชีพหรืออ้างอิงสถาบันพระมหากษัตริย์โดยไม่ได้รับพระบรมราชานุญาต    และไม่ใช้ชื่อซ้ำกับคลินิกอื่นภายในจังหวัดเดียวกัน ยกเว้นมีผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการคลินิกเป็นบุคคลหรือนิติบุคคลเดียวกัน หรือผู้ประกอบกิจการคลินิกเดิมออกหนังสือรับรองให้ใช้ชื่อซ้ำกันได้โดยมีหมายเลขเรียงลำดับ หรือสถานที่ตั้งต่อท้ายชื่อคลินิกเช่น “คลินิกทันตกรรมหลักสี่ สาขา 2” หรือ “คลินิกทันตกรรมหลักสี่ สาขาบางรัก”

เอกสารหลักฐานในการเปิดคลินิกทันตกรรม

1. การประกอบกิจการ  จำแนกตามประเภทผู้ขอรับอนุญาตประกอบกิจการ 

ประเภทเอกสาร

บุคคล

นิติบุคคล

1. ฟอร์มให้กรอก

ส.พ. 1, 2 และ 5

ส.พ. 1, 2 และ 5 โดยประทับตราบริษัทที่ลายเซ็นผู้ขอรับอนุญาต

อาจมอบอำนาจให้ผู้อื่นมายื่นขอรับอนุญาตแทนได้

2. หลักฐาน

 

 

2.1 ส่วนบุคคล

  1. สำเนาบัตรประชาชน
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน
  3. ใบรับรองแพทย์

1. สำเนาบัตรประชาชนผู้มีอำนาจลงนาม  2. สำเนาทะเบียนบ้านผู้มีอำนาจลงนาม    3. ใบรับรองแพทย์ผู้มีอำนาจลงนาม    4. เอกสารจดทะเบียนนิติบุคคลและวัตถุประสงค์

2.2 กรรมสิทธิ์สถานที่

 

  • เป็นของตนเอง

1. สำเนาสัญญาซื้อขาย   2. สำเนาโฉนด  และ 3. สำเนาทะเบียนบ้านที่ตั้งคลินิก

  • เช่า

1. สำเนาสัญญาเช่า   2. สำเนาบัตรประชาชน   3. สำเนาทะเบียนบ้าน   4. เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ของเจ้าของ  และ 5. สำเนาทะเบียนบ้านที่ตั้งคลินิก

  • เจ้าของยินยอมให้ใช้พื้นที่

1. หนังสือยินยอมจากเจ้าของอาคาร   2. สำเนาบัตรประชาชน   3. เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ของเจ้าของ และ 4. สำเนาทะเบียนบ้านที่ตั้งคลินิก

2.3 คลินิก

แผนผังภายในคลินิก โดยคลินิกต้องเสร็จเรียบร้อยเมื่อเจ้าหน้าที่เข้าตรวจ และผู้ดำเนินการต้องอยู่รับการตรวจ  ส่วนผู้ประกอบกิจการอาจมอบอำนาจให้ผู้อื่นอยู่แทนในกรณีที่ติดภารกิจอื่น

2.4 การเดินทาง

แผนที่เดินทางไปยังคลินิก

2. การดำเนินการสถานพยาบาล

ประเภทเอกสาร

เอกสาร

1. ฟอร์มให้กรอก

ส.พ. 18 และ ส.พ. 6 โดยต้องมาแสดงตัวในวันยื่นขอรับอนุญาตดำเนินการ

2. หลักฐาน

1. สำเนาบัตรประชาชน  2. สำเนาทะเบียนบ้าน  3. ใบรับรองแพทย์  4. สำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตกรรมหรือประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน สาขาทันตกรรมชั้น 1 

กรณีคลินิกเฉพาะทาง เพิ่มสำเนาวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติหรือรับรองในสาขาเฉพาะทางนั้น

3. รูปถ่าย

ขนาด 2.5 X 3 เซนติเมตร จำนวน 3 รูป ถ่ายไม่เกิน 1 ปี

ขนาด 8 X 13 เซนติเมตร จำนวน 1 รูป ถ่ายไม่เกิน 1 ปี

3. ผู้ประกอบวิชาชีพร่วม

ประเภทเอกสาร

เอกสาร

1. ฟอร์มให้กรอก

ส.พ. 6 (ไม่ต้องมาแสดงตัวในวันยื่นขอรับอนุญาต)

2. หลักฐาน

1. สำเนาบัตรประชาชน  2. สำเนาทะเบียนบ้าน  3. ใบรับรองแพทย์ และ 4. สำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตกรรมหรือประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน สาขาทันตกรรมชั้น 1

 กรณีคลินิกเฉพาะทาง เพิ่มสำเนาวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติหรือรับรองในสาขาเฉพาะทางนั้น

3. รูปถ่าย

ขนาด 8 X 13 เซนติเมตร จำนวน 1 รูป ถ่ายไม่เกิน 1 ปี

เอกสารหลักฐานที่ได้รับกลับในวันมายื่นขอรับอนุญาตฯ

  1. ใบนัดตรวจคลินิก
  2. แบบแสดงรูปถ่ายรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ประกอบวิชาชีพหรือผู้ประกอบโรคศิลปะในคลินิก
  3. ใบสมัครเข้ารับบริการเก็บขนและกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
  4. คำประกาศสิทธิผู้ป่วย
  5. ป้ายค่าบริการรักษา
  6. แบบบันทึกการตรวจมาตรฐานคลินิกทันตกรรม

เมื่อมารับใบอนุญาตฯ ตามที่ยื่นขอไว้ ต้องมีเอกสารและค่าธรรมเนียมดังนี้

  1. รูปถ่ายป้ายชื่อคลินิกที่มีเลขที่ใบอนุญาตเห็นได้ชัดเจน
  2. ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการและดำเนินการสถานพยาบาล 1,000 และ 250 บาท ตามลำดับ
  3. เอกสารหลักฐานเพิ่มเติม (ถ้ามี) ซึ่งเจ้าหน้าที่แจ้งไว้ในวันตรวจคลินิก
  4. หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบและรับมอบในกรณีไม่ได้มารับด้วยตัวเอง

การต่อใบอนุญาตฯ และค่าธรรมเนียม

  1. การประกอบกิจการสถานพยาบาล ต้องต่อใบอนุญาตทุก 10 ปี และชำระค่าธรรมเนียมรายปีในระหว่างเดือนตุลาคมถึงสิ้นเดือนธันวาคม  
  2. การดำเนินการสถานพยาบาล ต้องต่อใบอนุญาติและชำระค่าธรรมเนียมทุก 2 ปี

คำถาม

ใช้ข้อมูลต่อไปนี้ ตอบคำถาม

ทันตแพทย์ชื่อ นางสาวเสริมสวย นามสกุล เก่งสุดหล้า ต้องการเปิดคลินิกทันตกรรมที่บ้านในจังหวัดนนทบุรีซึ่งมารดาโอนให้แล้ว โดยเป็นผู้ให้บริการทันตกรรมเองคนเดียว และแบ่งพื้นที่อีกด้านหนึ่งของบ้านให้แพทย์แผนไทยเช่าเปิดบริการการแพทย์แผนไทย


เอกสารอ้างอิง

สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ. แนวทางการเปิดตลินิก. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.


ผู้เขียน/ผู้จัดทำ

ดร.เพ็ญแข ลาภยิ่ง
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย